ในยุคที่เทคโนโลยีส่งผลกระทบกับตลาดทุน….ก.ล.ต.ไทยจะสนับสนุนการปรับตัวสู่โลกใหม่ได้อย่างไร?

0
265

ที่งาน SEC Conference 2019: Capital Market for All เมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คุณทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการก.ล.ต. ร่วมกับ “คุณก้อง” ธีรนันท์ ศรีหงส์ ได้ขึ้นเวทีเสวนา ในหัวข้อ
“Digitalization of the Capital Market” ตลาดทุนในยุคดิจิทัล

ในยุคที่ดิจิตอลเข้ามามีผลกระทบต่อตลาดทุน ก็มีการเอาเทคโนโลยีใหม่ๆอย่าง AI หรือบล็อคเชนเข้ามา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการนำสินทรัพย์ต่างๆเช่น เงินและหลักทรัพย์มาอยู่ในรูปแบบของโทเคนบนบล็อกเชนหรือการจัดสรรการลงทุนด้วยเทคโนโลยี AI

ในด้านของการระดมทุน มีสิ่งที่เรียกว่า ICO แต่มันก็มีความเสี่ยงที่การระดมทุนนี้จะถูกตีความเป็นหลกัทรัพย์หรือไม่ จึงทำให้เกิดกระบวนการการเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับและมีการคุ้มครองผู้ลงทุนที่เรียกว่า Security Token Offering (STO)

1853937

ทางด้านคุณก้อง กล่าวว่า”หากมีการนำบล็อกเชนมาใช้เป็นตัวแทนของทรัพย์สินต่างๆ (tokenization) เช่น นำเงินบาทมาทำเป็น stable coin  สร้างระบบชำระเงินในรูปแบบใหม่และหากหลักทรัพยอ์ยู่ในรูปของโทเคน  และเมื่อนำทั้งหมดมาเชื่อมโยงกันก็จะสามารถเปลี่ยนโฉมการทำธุรกรรมในตลาดทุนได้” ระบบที่ต้องมีตัวกลางต่างๆจะเปลี่ยนไป กลายเป็นผู้ให้คำแนะนำหรือผู้ให้บริการด้านการระบุตัวตนผู้ลงทุน (KYC) แทน ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่กลั่นกรองข้อมูลอย่างที่ปรึกษาทางการเงิน ยังจำเป็นต้องใช้คนทำอยู่

ในส่วนของตลาดรอง  ธุรกรรมที่มีความซับซ้อนและใช้เวลานาน จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนซึ่งมีความรวดเร็วและลดความเสี่ยง  นอกจากนี้ ตัวตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นศูนย์กลางอีกต่อไป อาจมีหลายตลาดที่มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น สำหรับบริษัทหลักทรัพยอาจมีการปรับตัวไปสู่บริการที่สร้างมูลค่าได้มากกว่า เช่น ด้านการให้คำแนะนำ หรือ การดูแลสภาพคล่องของหลักทรัพย์

ในส่วนของท่าที ก.ล.ต.ก็หนีไม่พ้นการสนับสนุนการปรับตัวของตลาดทุนไทยสู่โลกใหม่  โดยเป้าหมายก็คือการเปิดให้ผู้เล่นรายใหม่มีโอกาสในการเข้ามานำเสนอสิ่งใหม่ ผู้ประกอบธุรกิจเดิมสามารถปรับตัวได้ และสำคัญคือการรักษาความเชื่อมั่นและคุ้มครองผู้ลงทุนในโลกที่ไร้ตัวกลาง

ก.ล.ต. พร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เล่นหน้าใหม่ที่มีความคุ้นเคยกับสินทรัพย์ดิจิตอล มีโอกาสในการเข้ามาให้บริการในด้านหลักทรัพย์ภายใต้ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ขณะเดียวกันผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ก็ควรที่จะให้บริการในด้านสินทรัพย์ดิจิทัลได้ด้วย ในขณะที่ tokenization platform  อาจเข้ามาให้บริการภายใต้หมวกของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์

การเปิดพื้นที่ให้สามารถทดลองนวัตกรรมใหม่ๆ คนจะได้ไม่ออกไปทำสิ่งใหม่ๆในต่างประเทศโดยที่ไทยไม่ได้ประโยชน์รวมทั้ง ก.ล.ต. เองต้องมีโอกาส ในการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งใหม่ด้วย นอกจากนี้ ก.ล.ต.อาจจะมีบทบาทในการสนับสนุนใหเ้กิดความร่วมมือระะหว่างผู้ประกอบธุรกิจด้วยกันในการส่งเสริมการพัฒนาของอุตสาหกรรมโดยเฉพาะระหว่างสมาคมต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ ต้องทำให้กระจายไปยังนักลงทุนให้ได้

และสุดท้ายคือการใช้ประโยชน์จากคนนอกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มาช่วยให้ข้อมูลและแบ่งปันประสบการณ์ในการกำกับดูแล

“บทบาทของก.ล.ต. นอกจากจะเป็นผู้ที่คอยป้องกันความเสี่ยงต่อผู้ลงทุนแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่สนับสนุนให้
เกิดการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของตลาดทุนอีกด้วย”

 

ที่มา : LINK

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.