[รีวิว] Ankr Network โปรเจคที่จะมาเปลี่ยนยุคสมัยของ Cloud computing เตรียมจ่อเข้าตลาดเร็วๆนี้

2
1586

ในช่วงที่ตลาดซบเซามาเป็นเวลานานอย่างตอนนี้ มีโปรเจคที่ตายไปกับตลาดหมีแบบนี้มากมาย  ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลต่างๆ ด้านธุรกิจ หรือด้านเงินทุนก็ตาม หรือแม้แต่บางโปรเจคที่หายเงียบๆไปจากตลาดไม่อัพเดทอะไรเลยก็มี ซึ่งสิ่งที่แอดจะดูก่อนเป็นอันดับต้นๆเลยคือ ทีมงาน ว่ามีการอัพเดทความคืบหน้าของตัวโปรเจคมั้ย ยิ่งให้ข้อมูลการดำเนินงานมากเท่าไหร่ยิ่งดี และเอาใจใส่กับ community

สำหรับวันนี้แอดจะมารีวิว Ankr โปรเจคที่มีความตั้งใจจะสร้างโลกของ Distributed cloud computing ซึ่งการเติบโตของธุรกิจนี้ไม่ต้องพูดถึง อยู่ในช่วงการเติบโตที่สูงมาก และยังจะเติบโตไปอีกนาน และในส่วนของทีมงานก็ยังมีการอัพเดทความคืบหน้าของการสร้างเครือข่าย และแพลตฟอร์มออกมาอย่างต่อเนื่อง

Ankr คืออะไร?

9876.JPG

Ankr เป็น distributed computing platform ที่มีเป้าหมายเพื่อใช้ประโยชน์จากกำลังการประมวลผลที่เหลือใช้จากทั้งขององค์กร และบุคคลทั่วไป ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดการบริหารทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้อีกด้วยไม่ว่าจะเป็นการแชร์กำลังประมวลผลจาก device, sever private cloud และ public cloud จากโมเดลนี้เองที่ทำให้ Ankr มั่นใจว่าจะสามารถทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการได้ดีกว่า และในราคาที่ถูกกว่าปัจจุบันอย่างแน่นอน และนอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยี Blockchain กับ consensus แบบ Proof of useful work(PoUW) โดยทำงานร่วมกับ trusted hardware (Intel SGX) ซึ่งทั้งสององค์ประกอบนี้จะทำให้เกิด distributed computing platform ที่มีราคาถูก และปลอดภัยเป็นจริงได้

จุดเริ่มต้นของโปรเจค Ankr

DhPflzqUEAAdO-2.jpg

จุดเริ่มต้นของโปรเจคนี้เกิดจาก Chandler Song(CEO คนปัจจุบัน) ต้องการให้การใช้งาน cloud computing เป็นไปอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันกลับถูกผูกขาดโดยบริษัทยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่เจ้า ทำให้เกิดการกำหนดราคาที่สูงกว่าที่ควรจะเป็นเนื่องจากมีต้นทุนของ infrastructure และ HR ที่ค่อนข้างสูง  Chandler Song จึงคิดว่าควรจะมี Cloud computing service ที่ให้บริการในราคาถูกๆ สำหรับนักวิจัย นักเรียน และผู้ที่เริ่มต้นใช้งาน ที่มีเงินทุนไม่มาก ทำให้ต่อมา Chandler Song ก็ได้จัดตั้ง Ankr ขึ้นมาร่วมกับเพื่อนของเขา Stanley Wu และ Ryan Fang โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำให้ระบบ blockchain token เข้าถึงได้ทุกคน และสร้างรูปแบบการใช้งานของ decentralized cloud computing ให้เป็นความจริง

Cloud computing คืออะไร?

cloud computing.jpg

ก่อนที่จะเข้าใจว่า Ankr ทำอะไร หรือจะไปวิเคราะห์ต่อว่า Ankr จะเป็นผู้นำของ Cloud computing ได้หรือไม่ แอดอยากให้เพื่อนๆเข้าใจเรื่อง Cloud computing ก่อนว่าคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรกันก่อน

พัฒนาการของ computing power

342

เริ่มจากยุคแรกเลยที่เวลาต้องการประมวลผลอะไรหนักๆต้องมี Mainframe computer ไว้(ที่เป็นตู้ที่มี CPU เรียงกันเป็นแถว) ต่อมาก็เป็นยุคของ Public cloud ในปัจจุบัน และถัดไปนี้แหละที่ Ankr ประกาศว่าจะเป็นยุคของ Distributed Cloud

การเติบโตของ computing power ในยุคปัจจุบันที่เรียกกันว่า cloud computing

Cloud computing เป็นเทคโนโลยีระบบประมวลผลรูปแบบใหม่ที่จะให้บริการทางด้าน Resource ทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ หรือแพลตฟอร์มต่างๆผ่านอินเตอร์เนต ซึ่งผู้ใช้งานก็จะถูกเก็บค่าบริการจากทรัพยากรที่เรียกใช้ และขอบเขตที่ใช้งาน หรือพูดง่ายๆก็คือใช้เท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น ต้องการ CPU 10 ตัว Ram 32GB Storage 30TB เราก็จิ้มๆเลือกจากผู้ให้บริการได้เลยเค้าจะคำนวณค่าใช้บริการออกมา โดยที่เราไม่ต้องไปลงทุนซื้อคอมเองจริงๆซึ่งมีต้นทุนสูง และไม่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานเทคโนโลยี Cloud computing นี้เองจะช่วยให้การใช้งานทรัพยากรมีความยืดหยุ่นสูงขึ้นมาก รองรับกับธุรกิจยุคใหม่ที่เป็น digital businesses

5-Image-1-Public-cloud-revenue-worldwide-.png

https://www.27machines.com/cloud-computing-growth-means-big-business/

จาก chart เป็นรายได้จาก public cloud computing ทั่วโลกประมาณไปถึงปี 2026 จะเห็นได้ว่ารายได้กระโดดจากหลักหมื่นล้านเป็นแสนล้านเหรียญภายในเวลาไม่กี่ปี โดยมีอัตราการเติบโตของตลาดที่สูงมาก เพียงแค่ได้ส่วนแบ่งการตลาดแค่ 0.5% 1% ก็ได้รายได้และกำไรที่มหาศาลแล้ว แต่อย่างไรก็ตามก็ยังต้องสู้กับยักษ์ใหญ่อย่าง AWS(Amazon)  Azure(Microsoft) และแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่อีกหลายเจ้า การที่ Ankr จะสู้กับคู่แข่งเหล่านี้ได้ก็ต้องดูว่าตัว Ankr เองมี Competitive advantage และวาง Position ตัวเองในตลาดการแข่งขันนี้อย่างไร

เทคโนโลยี

มาดูเรื่องของเทคโนโลยีกันบ้างเพราะไม่ว่าจะเรื่องของการสร้างแพลตฟอร์ม distributed cloud computing การจะมีชัยเหนือคู่แข่ง เทคโนโลยีนี้แหละที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นตัวตัดสินที่สำคัญว่าจะความได้เปรียบเหนือคู่แข่งอย่างไรบ้าง แอดเลยขอสรุปเทคโนโลยีหรือฟีเจอร์หลักๆของ Ankr มาให้เข้าใจกัน

2-3.png

Proof of Useful Work (PoUW) Consensus Protocol

เป็น consensus ที่ใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด กลไกง่ายมากคือ miner ทำงานที่ได้รับมาเท่าไหร่ก็จะได้รับผลตอบแทนเท่านั้น ซึ่งจะต่างจาก Proof of work ที่ miner จะได้ผลตอบแทนเมื่อแก้ไขรหัส hash ได้ และนอกจากนี้ PoUW ยังทำงานร่วมกับ trusted hardware อีกด้วยซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัยสูงมาก

Native Oracle System (NOS) 

เป็นระบบที่รองรับการป้อนข้อมูลเพื่อเป็นตัวดำเนินการระบบ smart contract โดย NOS ก็ทำงานอยู่บน trusted hardware ด้วย และเนื่องจากใช้ oracle service ก็เป็นข้อดีที่ทำให้สามารถเชื่อมกับระบบธุรกิจดั้งเดิมที่ใช้งานอยู่ได้ง่าย

Multi-Chain Structure

Ankr แก้ปัญหาเรื่องการรองรับธุรกรรมบน Blockchain โดยการติดตั้ง Plasma และ Sharding ซึ่งตัวโครงข่ายจะมีลักษณะเป็นแบบต้นไม้ และจะมีสองส่วนหลักๆคือ application chains(Child Chains) ที่เชื่อมกับ single root chain(Main Chain) โดยตัว Child Chains ก็จะทำงานแยกออกมาจากตัว Main Chain โดยสามารถปรับให้เหมาะสมกับรูปแบบของ application ที่ใช้งานตาม transaction Volume, transaction amount หรือแบบ real-time responses และข้อมูลเหล่านี้จะถูกแยกกันทำงานและข้อมูลไปให้ Main Chain ไม่กระทบซึ่งกันและกัน

Trusted Hardware

ในเครือข่ายการทำงานของ Ankr จะทำอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เรียกว่า Trusted Execution Environment (TEE) หรือจะเรียกว่าการ Exclave ก็ได้  โดยการติดตั้ง Intel Software Guard Extensions(Intel SGX) ที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่สามารถดูข้อมูลได้เลยไม่ว่าจะถูกดำเนินการจากภายใน การโจมตีจากแฮกเกอร์หรือมัลแวร์ หรือแม้แต่การ debugger ก็ไม่สามารถเข้ามาขโมยข้อมูลที่กำลังประมวลผลได้

Token

เหรียญจะถูกนำไปใช้ในเครือข่าย Ankr อย่างไร

เหรียญจะถูกใช้เป็น incentive สำหรับการประมวลผลของระบบ PoUW ผู้มีส่วนร่วมในเครือข่ายของ Ankr และผู้ที่เสนอขายกำลังการประมวลผลของตัวเอง ยิ่งมีส่วนร่วมกับการประมวลผลมากเท่าไหร่ก็ยิ่งได้รับผลตอบแทนมากเท่านั้น และเมื่อมีเหรียญมากขึ้นก็จะได้รับบริการมากขึ้นไปด้วย โดยสรุปคือจะขุดเหรียญได้จากการปล่อยกำลังประมวลผลของเราออกไป และจะโดนเก็บค่าธรรมเนียมจากการใช้กำลังการประมวลผล และธุรกรรมที่เกิดขึ้นบน blockchain และเมื่อ ecosystem นี้เกิดขึ้นก็จะนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “decentralized world computer”

Road Map

ปี 2019

Q1 : Data center pilot adoption

Q2 : Data center solution user experience improvement & infrastructure integration

Q3 : Enterprise level service initial launch

Q4 : Additional cloud computing functionalities

Road map ที่ผ่านมาค่อนข้างทำได้ตามไทม์ไลน์ และปัจจุบันได้มี Demo มาให้ทดลองใช้กันแล้ว ส่วนการดำเนินงานในปี 2019 โดยสรุป จะเป็นงานพัฒนาส่วนของศูนย์รวมข้อมูล เพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานของระบบ และให้รองรับการบริการระดับองค์กร

อัพเดทล่าสุดจากทางทีมงาน

ปัจจุบันทีมงานจะมุ่งเน้นพัฒนาในส่วนของแพลตฟอร์ม โดยจะคำนึงถึง user-experience มากที่สุด ไม่ได้เน้นเพียงเทคโนโลยีอย่างเดียว ให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย และใช้งานง่ายที่สุด โดยในขณะนี้กำลังออกแบบ และพัฒนา Web app: dccn.ankr.network โดยจะแบ่งออกเป็นสี่ส่วนด้วยกันคือ Dashboard, Marketplace, Tasks และ Payments ตัวอย่างหน้าตา Dashboard ที่กำลังออกแบบตามภาพด้านล่าง ดูสวย และใช้งานง่ายมากเลย

อ่านเพิ่มเติมกันได้ที่ https://medium.com/ankr-network/2018-ankr-development-summary-and-2019-roadmap-bd047afc487

1_JaU17QSBsvrfLKU3-CM5nw.png

Team

core team มีจำนวน 17 คน ประกอบด้วยคนจากหลากหลายสาขา ทั้ง Electrical Engineering Computer Science หรือแม่แต่ Business Administration และมีประสบการณ์ทำงาน และความเชี่ยวชาญด้าน blockchain และทำงานอยู่กับบริษัทที่มีชื่อเสี่ยงมากมาย เช่น SAP Amazon และ GE ตามข้อมูลด้านล่างแอดได้สรุปข้อมูลเฉพาะของบางท่านไว้

43255768

Chandler Song – ตำแหน่ง Co-founder & CEO

การศึกษา ปริญญาตรีสาขา  Electrical Engineering & Computer Science, University of California, Berkeley มีความเชี่ยวชาญด้าน Software Engineer, Blockchain, Business Expertise และเคยทำงานที่ Berkley, Amazon, SAP และ CitySpade

Stanley Wu – ตำแหน่ง Co-founder & CTO

การศึกษา ปริญญาตรีสาขา Electrical Engineering, Shanghai Jiao Tong University ปริญญาโทสาขา Electrical and Computer Engineering, University of Rochester มีความเชี่ยวชาญด้าน Software Engineer, cloud services และเคยทำงานที่ Amazon

Ryan Fang – ตำแหน่ง Co-Founder & COO

การศึกษา ปริญญาตรีสาขา Business Administration and Statistics, University of California, Berkeley มีความเชี่ยวชาญด้าน  Business Expertise และเคยทำงานที่ Berkley, Amazon, SAP และ CitySpade

David P. Anderson – ตำแหน่ง Technical Advisor

ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ : ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำมหาลัย Houston และเป็นผู้สร้าง BOINC(Berkely Open Infrastructure for Network Computing) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม open-source software ที่มีอาสาสมัครเข้าร่วมการกระจายกำลังประมวลผลโดยมี active user เกิน 2 แสนคนต่อเดือน และนอกจากนี้ยังเป็นผู้วิจัยโปรเจค SETI@home ด้วย

Song Liu – ตำแหน่ง (CSE)

การศึกษา ปริญญาตรีสาขา Electrical Engineering, Shanghai Jiao Tong University ปริญญาโทสาขา computer Science, Boston University. มีความเชี่ยวชาญด้าน software engineering, network security และเคยทำงานที่ Gigamon, Palo Alto Networks, General Electric และ Electronic Arts

Contact

Website : https://www.ankr.com

Telegram ภาษาอังกฤษ : https://t.me/ankrnetwork

Telegram ภาษาไทย : https://t.me/AnkrThailand

medium : https://medium.com/ankr-network

twitter : https://twitter.com/ankrnetwork

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCr6z1C2Ti0DOS_zNqh62U-A

** ข่าวอัพเดทเรื่อง Exchange มีข่าวลือว่าจะเข้าตลาดในช่วงต้นเดือนมีนาคมนี้ด้วย อย่าลืมติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดกันด้วย

2 COMMENTS

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.