เป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยี blockchain นั้นเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความโปร่งใส ตรวจสอบได้และแก้ไขข้อมูลไม่ได้ ยิ่งเป็นเรื่องทรัพย์สินเงินทองด้วยแล้ว ยิ่งเหมาะกันใหญ่
เมื่อปี 2014 กรมสรรพากรได้มีการเข้าตรวจสอบและจับกุม 60 บริษัทที่ฉ้อโกงเกี่ยวภาษี ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 18.29 ล้านเหรียญ ถือได้ว่าเป็นความเสียหายที่ค่อนข้างรุนแรงเลยทีเดียว
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ได้แสดงความคิดเห็นต่อ Bangkok Post ว่าส่วนตัวเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยี blockchain จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และได้มีการจัดตั้งห้องทดลองด้านนวัตกรรมเพื่อทดสอบศักยภาพของ blockchain ทั้งนี้ยังกล่าวว่า
“เทคโนโลยี blockchain สามารถตรวจสอบความถูกต้องของใบกำกับภาษีได้ และยังเป็นศูนย์กลางข้อมูลและความโปร่งใสให้กับทั้งบริษัทผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อยืนยันความถูกต้องได้อีกด้วย”
ทางด้าน PwC บริษัทตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ ยังให้การยอมรับว่า blockchain สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดและการฉ้อโกงในการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบแบบดั้งเดิม
“Blockchain ทำให้การตรวจสอบการฉ้อโกงและข้อผิดพลาดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากระบบให้ข้อมูลที่ชัดเจนและโปร่งใสเกี่ยวกับการทำธุรกรรมและรายการต่าง ๆ ในเครือข่าย ซึ่งอาจเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการติดตามความเคลื่อนไหวของเงินภาษีว่าได้จ่ายไปที่ใดและลดปัญหาการฉ้อโกงได้”
หน่วยงานรัฐเริ่มเอาจริงในการปราบปรามการหนีภาษี และตั้งใจจะใช้เทคโนโลยี blockchain มาแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศได้กล่าวว่า “เราเรียนรู้และศึกษาวิธีการฉ้อโกงอย่างหนัก เพื่อการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและทำให้การจ่ายภาษีเป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น”