Siacoin (SC) คืออะไร การจัดเก็บข้อมูลบน Cloud ด้วย Blockchain

0
2565

Siacoin เป็นบัญชีแยกประเภทแบบ peer-to-peer (peer-to-peer distributed ledger) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถ “เช่า” พื้นที่จัดเก็บข้อมูลระดับศูนย์ข้อมูล (Data center-levels) ได้ โดยหวังว่าจะทำลายระบบออนไลน์ของ Cloud ที่มีอยู่ในปัจจุบันที่มีมูลค่ากว่าพันล้านดอลลาร์ โดยใช้ Blockchain ที่ทำให้ปลอดภัยมากขึ้น

Siacoin เล็งเห็นถึงตลาดของการฝากข้อมูลไว้บน Cloud ที่มีการเติบโตและมีมูลค่ากว่า 178 พันล้านดอลลาร์ และในช่วงสิ้นปี 2017 Amazon, Dropbox, Microsoft และ Google ได้แข่งขันกันเพื่อทำให้ผู้ใช้งานได้ใช้พื้นที่เก็บข้อมูลของเขา แต่เป็นที่รู้กันก็คือเรานำข้อมูลขอเราไปเก็บไว้บนพื้นที่จัดเก็บของคนอื่น นั่นหมายถึงความไม่ปลอดภัย ดังนั้น Siacoin จึงมีแนวโน้มที่จะทำลายอุตสาหกรรมการจัดเก็บข้อมูลระบบคลาวด์ ด้วยตัวเลือกจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) อย่างแท้จริง แทนที่จะเป็นการเก็บข้อมูลอยู่เซิร์ฟเวอร์แบบรวมศูนย์  Siacoin จึงใช้การจัดเก็บข้อมูลบน blockchain แทน

การทำงานและเทคโนโลยี

Siacoin มีความส่วนตัวสูงมาก เนื่องจากมีการแยกข้อมูลออกเป็น 30 ส่วน โดยใช้เทคโนโลยีที่ชื่อว่า Reed-Solomon erasure coding และเข้ารหัสลงบน Blockchain และกระจายไปตาม Host ต่างๆ จะไม่มี host ไหนที่มีขอมูลของไฟล์นั้นทั้งหมด เนื่องจากข้อมูลถูกแยกเป็นส่วนแล้วกระจายไป จึงสามารถลดปัญหากรณีของ hard drive เก็บข้อมูลพังและข้อมูลหายได้

เนื่องจากผู้ใช้เป็นคนถือกุญแจ จะมีแค่คุณเท่านั้นที่สามารถควบคุมไฟล์ได้ และไม่สามารถรวมไฟล์ได้หากไม่มี Private key รวมไปถึง Siacoin เองก็ไม่สามารถเปิดดูข้อมูลของผู้ใช้ได้หากไม่มี Private key จึงทำให้ Siacoin ไม่สามารถนำข้อมูลของผู้ใช้ไปขายหรือทำโฆษณาได้ ซึ่งตรงกันข้ามกับบริษัทที่จัดเก็บข้อมูลบน Cloud แบบเดิม ที่บริษัทพวกนี้เป็นศูนย์กลางความเสี่ยงต่อการโจมตีของแฮ็กเกอร์ และ บริษัท สามารถควบคุมระบบจัดเก็บข้อมูล  และควบคุมไฟล์ได้อย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้ Siacoin ยังมี Node ที่กระจายอยู่ทั่วโลกส่งผลให้มีความปลอดภัยและมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมาก

ระบบของการเก็บข้อมูล (Storage Ecosystem)

ระบบการเก็บข้อมูลของ Siacoin มีความยืดหยุ่นสูง ผู้ให้บริการและผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมโดยผ่าน blockchain ของ Siacoin ในส่วนของผู้ให้บริการหรือ Host จะมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้กับผู้ใช้ ผู้ให้บริการสามารถตั้งราคา โฆษณา และตั้งกฎหรือบทลงโทษ ส่วนผู้ใช้ก็สามารถเลือกผู้ให้บริการได้ตามความเหมาะสมของผู้ใช้ และคุณภาพของผู้ให้บริการ โดยทั้งหมดนี้จะจ่านค่าบริการด้วย Siacoin

File Contract

เมื่อมีการทำธุรกรรมทางธุรกิจของทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการสำเร็จ ไฟล์สัญญาจะของทั้งสองฝ่ายจะถูกเก็บไว้บน Blockchain ของ Siacoin เพื่อความมั่นใจของทั้งสองฝ่าย

Proof of Storage

การปลอมแปลงจะถูกป้องกันด้วยการ proof of storage ของผู้ให้บริการ โดยการ proof นี้จะเกิดจากก่อนที่ผู้ให้บริการจะได้รับชำระค่าบริการ ซึ่งหากผู้ให้บริการไม่แสดงหลักฐานในช่วงเวลาที่กำหนด ธุรกรรมนั้นก็จะถูกยกเลิกทันที

proof of storage ทำได้ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Merkle tree  ทำให้สามารถพิสูจน์ได้ว่าส่วนของข้อมูลขนาดเล็กเป็นส่วนหนึ่งของไฟล์ขนาดใหญ่จริง นี่เป็นสิ่งสำคัญเพราะหลักฐานจะถูกเก็บไว้ใน blockchain อย่างถาวร

ความคิดเห็นส่วนตัว

จุดเด่น

  1. เรื่องความปลอดภัยของการเก็บข้อมูลใน cloud บน Blockchain กับ แบบเดิมที่มีบริษัทรับจัดเก็บ ต้องยกให้ blockchain ซึ่งมีความปลอดภัยกว่ามากเพราะสามามารถป้องกันการเข้าถึงของข้อมูลส่วนตัวได้ ดังนั้น Siacoin จึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น สมมุติเราจะเก็บ Private key ของ Bitcoin wallet เราจะเก็บบน cloud ที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยี blockchain ก็เสี่ยงที่จะถูกแฮ็ค ดังนั้นจึงควรเลือกเก็บข้อมูลสำคัญไว้บน blockchain ดีกว่า
  2. Siacoin มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนและกระจายไปจัดเก็บบนหลายๆ host ทำให้ต่อให้ถูกแฮ็ก host ใด host หนึ่ง ก็ไม่สามารถใช้ข้อมูลได้
  3. มีการจ่ายเงินค่าเช่าพื้นที่ที่สะดวก และมีประกันข้อมูลด้วย
  4. Node มีกระจายอยู่ทั่วโลก และทุกภูมิภาค กว่า 500 แห่ง
  5. ค่าบริการถูกกว่า cloud ที่ไม่ได้ใช้ blockchain
  6. ในอนาคตอาจจะเป็นธนาคารที่เก็บข้อมูลในโลกดิจิตอลได้ดี

จุดพิจารณา

  1. คู่แข่งที่ใช้ blockchain ในการให้เช่าพื่นที่จัดเก็บ เช่น MaidSafeCoin Storj และ Bluzelle ส่วนที่ไม่ใช้ blockchain เช่น Google drive Onedive และ Dropbox
  2. คนยังไม่ค่อยรู้จัก และยังไม่นิยมใช้ แต่ในอนาคตมีคนใช้แน่นอน แต่ต้องลุ้นว่าบริษัทยักษ์ใหญ่หันมาใช้เทคโนโลยี blockchain อาจทำให้ผู้ใช้หันไปใช้ของบริษัทใหญ่มากขึ้น
  3. รูปแบบธุรกิจนี้มีแนวทางเดียว ขยายต่อได้ไม่มาก
  4. ความสะดวกในการใช้งานน้อย เพราะยังไม่สามารถเรียกใช้ได้สะดวก ซึ่งยังไม่มีแอพพลิเคชั่นบน device
  5. ต้องเสี่ยงกับข้อมูลที่เก็บ ไม่ใช่เพราะข้อมูลบน blockchain ไม่ปลอดภัย แต่เพราะอาจเกิดเหตุการที่ Private key หายและเปิดข้อมูลไม่ได้อีกตลอดไป ควรมีแผนป้องกันและรับมือการกู้คืนข้อมูล

 

เขียนโดย Wuttichai Boonheng (Mr.TROS)

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.