VeChain (VET) คืออะไร? Blockchain ที่สนับสนุนภาคธุรกิจ

0
13920

VeChain เป็น Blockchain บนแพลตฟอร์ม smart contract ที่เน้นการใช้งานทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ สินค้าคงคลัง และการติดตาม (Tracking) VeChain ใช้ smart contract ของ Ethereum ในการรันระบบ ซึ่งในปลายเดือนกุมภาพันธ, 2018 Sunny Lu ซึ่งเป็น CEO ได้ประกาศเพิ่ม VeChain Thor ขึ้นมาอีก

Token ของ VeChain ใช้ชื่อว่า VET มีจำนวนทั้งหมด 867,162,634 VET และส่วนใหญ่อยู่กับ VeChain Foundation ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกำกับดูแลเรื่อง consensus เพราะ VeChain มีการใช้ consensus แบบ Proof of Authority (PoA) ซึ่งเป็นการระบุเลยว่าใครจะสามารถยืนยัน Transaction ได้บ้าง มีความตรงไปตรงมามาก ซึ่งมีข้อดีคือเร็วมาก การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีของ VeChain มุ่งเน้นไปที่การทำธุรกรรมที่มีความเร็วสูง ตลอดจนมีการผลิตและจัดส่ง developer kits ซึ่งจะทำให้ บริษัท อื่น ๆ สามารถใช้งาน VET ได้ง่ายขึ้น และจะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือโดย VeChain Foundation ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งอยู่ในสิงคโปร์

VeChain (VET) ใช้ทำอะไร

หนึ่งในกลยุทธ์ที่ VeChain ดูเหมือนว่าจะได้รับความสำเร็จในการใช้งานในโลกแห่งความจริง นี่คือรายการของการใช้งานที่พวกเขาได้สร้างขึ้นมาเอง โดยจะมาปฏิวัติ 6 ภาคธุรกิจคือ

  1. ธุรกิจขายสุรา (Liquor)

ความปลอดภัยของอาหารถือเป็นปัญหาสำคัญของโลกและนับเป็นความสำคัญอันดับต้น ๆ ของรัฐบาล จึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้ผลิตอาหารและแบรนด์ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด เพื่อให้เกิดมาตรการด้านความปลอดภัยของอาหาร ในเวลาเดียวกันต้องรับผิดชอบต่อสาธารณชนด้วย การป้องกันด้วย blockchain จะช่วยป้องกันการปลอมแปลงและช่วยให้มีรูปแบบการติดตามร่องรอยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มันก็คือ Traceability นั่นเอง

VeChain สร้างแพลตฟอร์มในการการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องสำหรับขวดไวน์ ข้อมูลไวน์ ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต จะถูกเก็บไว้ใน blockchain นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ให้บริการโลจิสติกและผู้จัดจำหน่ายสามารถจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะถึงจุดหมายปลายทาง แพลตฟอร์มนี้จะทำให้สิทธิของผู้บริโภคได้รับการคุ้มครอง สามารถตรวจสอบก่อนซื้อได้ โดยสามารถสแกน QR Code หรือ NFC Chip ซึ่งจะให้ข้อมูลที่แท้จริงและเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค หากเราสแกนแล้ว ระบบจะแสดงระยะเวลาทั้งหมดของขวดไวน์ ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเก็บ แหล่งที่มาและกระบวนการโลจิสติกส์ ที่สามารถเข้าถึงได้เพียงแค่ปลายนิ้ว

  1. สินค้าหรูหรา (Luxury Goods)

อุตสาหกรรมสินค้าหรูหรา เช่น กระเป๋า รองเท้าแบรนด์เนม กำลังประสบกับคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งเกิดจากอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ แบรนด์หรูในปัจจุบันเผชิญกับภัยคุกคามต่อการรักษาแบรนด์ การปลอมแปลง การตรวจสอบย้อนกลับและการจัดการซัพพลายเชน ในอีกแง่หนึ่ง blockchain ได้เปิดช่องทางใหม่สำหรับแบรนด์หรูเพื่อสร้างการเชื่อมต่อกับผู้บริโภค ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่สมบูรณ์แบบ โดยการการันตีว่าของที่ซื่อกับร้านนี้เป็นของจริง ลูกค้าสามารถอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในการซื้อกระเป๋าใบใหม่และแบรนด์หรูได้

ประสบการณ์ที่ผ่านมาของ Sunny ในฐานะ CIO ที่ LVMH China ทำให้เขามีข้อมูลเชิงลึกที่ยอดเยี่ยมและเขาเป็นผู้นำทีมพัฒนาในการสร้างโซลูชัน blockchain เฉพาะอุตสาหกรรมสำหรับกลุ่ม Luxury โดยดำเนินการดังนี้ ประการแรก ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นมีรหัสดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกันบนแพลตฟอร์มและบนชิป NFC ประการที่สอง การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างอัตโนมัติ โดยผ่าน Smart Contracts และ Layer ที่สร้างขึ้นจากแอพพลิเคชันภายในขององค์กรต่างๆ และเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม BlockChain ของ VeChain ด้วย Standard APIs ที่ครอบคลุมตลอดการดำเนินธุรกิจซึ่งประกอบไปด้วย การผลิต การขนส่ง คลังสินค้า การจัดจำหน่าย การค้าปลีกและการตรวจสอบคุณภาพ สุดท้ายนี้ VeChain มีการสร้างแอปพลิเคชันบนมือถือขึ้นเพื่อทำให้ผู้บริโภคสามารถสัมผัสผลิตภัณฑ์และแบรนด์แบบตัวต่อตัวได้เลย

  1. ยานยนต์ (Auto)

อุตสาหกรรมยานยนต์ กว่าจะประกอบขึ้นต้องมีการแบ่งแยกการผลิตชิ้นส่วน ซึ่งมีความซับซ้อนและใช้ผู้ผลิตจำนวนมาก ส่งผลให้ขั้นตอนการแปลงข้อมูลดิจิทัลในอุตสาหกรรมนี้ช้าลง

VeChain สร้าง digital profile สำหรับรถแต่ละคันโดยใช้รหัสเฉพาะ ตัวอย่างเช่น มีการอนุญาตศูนย์ซ่อมบำรุง สามารถอัพเดทสถานะของรถยนต์ ติดตามเลขไมล์ และสามารถรู้ได้ว่ารถยนต์คันนี้ผ่านอะไรมาบ้าง โดยจะบันทึกลง digital logbook เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ได้นั้นเป็นของแท้ เป็นต้น รถทุกคันจะมีรหัสเฉพาะบนแพลตฟอร์ม VeChain ซึ่ง Digital profile นี้ประกอบด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของรถยนต์และใช้งาน Digital profile ผ่าน Smart Contracts ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก กับบริษัทประกันและสถาบันการเงิน ที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องในอนาคตอันใกล้นี้

  1. สินค้าขายปลีก (Retail)

อุตสาหกรรมค้าปลีกได้เข้าสู่ยุคของ Experience แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการซื้อของกลุ่ม Millenials มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเนื่องจากอิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ ผู้บริโภคเน้นที่ความเป็นมาของสินค้า ผู้ค้าปลีกจำเป็นต้องออกแบบเส้นทางการซื้อขายใหม่ด้วยการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าทั้งก่อนและหลังการซื้อ แบรนด์ต่าง ๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษา brand loyalty และช่องทางการสื่อสารกับลูกค้า

ด้วยการเข้ารหัสที่ไม่ซ้ำกันของผลิตภัณฑ์ที่เก็บในแพลตฟอร์ม VeChain แต่ละผลิตภัณฑ์มีโอกาสที่จะเล่าเรื่องราวและสื่อสารประวัติและงานฝีมือของแบรนด์ต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงประสบการณ์การผลิตภัณฑ์สินค้าของตนเอง

  1. อุตสาหกรรมการเกษตร (Agriculture)

VeChain ให้บริการโซลูชัน cloud service ที่สามารถใช้งานได้กับ blockchain สำหรับการรับรองผลิตภัณฑ์เกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเกษตรอินทรีย์ตลอดทั้งกระบวนการผลิต มี IoT Sensor และ Mobile Devices ที่แจ้งสภาพอากาศและสภาพของดิน ที่จะส่งข้อมูลผ่าน Cloud แบบ Real-time ข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเข้ารหัสและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ แต่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยการใช้ Private Keys การเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถช่วยให้เกษตรกรหรือผู้ผลิตตัดสินใจได้ดีขึ้น พวกเขาสามารถปรับปรุงวิธีการปลูก ปรับปรุงปริมาณและคุณภาพของผลผลิต และเพิ่มอัตราการเก็บเกี่ยวของตน นอกจากนี้ยังสามารถลดผลกระทบเชิงลบของปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

  1. การขนส่ง (Logistic)

การติดตั้ง smart sensor บนรถขนส่ง จะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น จะถูกเก็บรวบรวมและบันทึกลงใน Blockchain แบบ Real-time ข้อมูลจะได้รับการเข้ารหัสและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยการใช้ Private Keys ผู้ขนส่งและผู้บริโภคสามารถตรวจสอบและติดตามสภาพการขนส่งได้ง่ายและทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้น

Screenshot_20180914-102812__01

แผนรับมือการผิดผลาดต่างๆ (Disaster Recovery Plan)

VeChain Foundation ได้ออกแบบแผน Cryptocurrency Disaster Recovery Plan (CDRP) ด้วยระบบมาตรฐาน ISO 27001 และ WebTrust เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่มีขนาดใหญ่ ผู้ใช้ระดับองค์กร และตอบสนองข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ ทาง VeChain ได้ทดสอบแผนรับมือนี้แล้ว โดยใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 6 ชั่วโมง

ระดับความรุนแรงของความผิดผลาดต่างๆ ถูกแก้ปัญหาได้ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยอย่างลืมรหัสผ่าน จนไปถึงการพยายามจะแฮ็คเข้า wallet หรือใช้ Private key แต่ไม่ได้รับสิทธิการใช้งาน ระบบจะทำการสร้าง Wallet ใหม่และย้ายข้อมูลที่อยู่ใน wallet นั้นให้อัตโนมัติ เพื่อป้องกันการเข้าถึง

VeChain เล็งเห็นถึงการป้องกันคนที่ใช้งานด้วย เพราะตัว Blockchain ไม่สามารถแฮ็คระบบได้ แต่ตราบใดที่ผู้ใช้ยังต้องใช้งานนอกระบบ Blockchain ก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะต้องถูกแฮ็คบัญชีอยู่ดี VeChain จึงนำ Disaster Recovery Plan มาใช้เพื่อปิดจุดบอดตรงนี้

ทีมงานผู้ก่อตั้ง

ทีมงานมาจากหลากหลายธุรกิจ และหลากหลายประเทศ นำทีมโดย Sunny Lu ซึ่งเคยทำงานเป็นผู้บริหารด้าน IT ใน Fortune 500 กว่า 13 ปี และได้เริ่มทำเกี่ยวกับ Blockchain ตั้งแต่ปี 2015

Screenshot_20180914-103437__01

Partnership

  1. Babyghost
  2. BitOcean
  3. China Unicorn
  4. Directed Imported Goods
  5. DNV GL
  6. Healthcare Co Ltd
  7. Hyperledger
  8. Jiangsu Printed Electronics Co Ltd
  9. Kuehne & Nagel
  10. MadeForGoods
  11. Microsoft
  12. PwC
  13. Renault
  14. Xiamen Innov Information Technology Co., Ltd.
  15. BMW motor

**ความคิดเห็นส่วนตัว**

จุดเด่น

  1. VeChain ใช้เทคโนโลยี Blockchain +  Smart contact ได้อย่างคุ้มค่า เพราะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาด้านธุรกิจ ได้อย่างดีทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นสามารถสอบย้อนกลับได้เร็วขึ้นและสมบูรณ์ ซึ่งสำคัญมากใน Food chain process อีกทั้งยังเป็นส่วนช่วยในหลายส่วนให้เข้าสู่ยุค IoT
  2. มี Disaster Recovery Plan ที่ใช้งานได้ และเป็นสิ่งที่จะทำให้ ผู้ประกอบการหรือผู้ใช้ในทางธุรกิจเลือกใช้งาน และมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยไปอีกขั้น ด้วยความปลอดภัยที่ครบวงจร และน่าจะเป็นต้นแบบให้ Cryptocurrency อื่นๆได้นำไปใช้เพื่อความปลอดภัยมากขึ้น
  3. ทีมงานมีประสบการณ์ในเรื่องธุรกิจมาก และนำจุดอ่อนของแต่ละธุรกิจมาประยุกต์ใช้กับ Blockchain

จุดพิจารณา

  1. การ Consensus ที่เป็นแบบ Proof of Authority มีความเร็วในการ confirm transaction สูงมากก็จริงแต่ความน่าเชื่อถือลดลง เพราะการ proof แบบนี้มันค่อนข้างไปทาง Centalize แต่ทาง VeChain ก็มีการคัดเลือก คนที่จะมา Proof อยู่ หรือหากมีการเลือก consensus ที่เร็วกว่าและ Decentralized ก็จะทำให้ลดความกังวลของผู้ใช้งาน
  2. คู่แข่งตัวใหญ่และมีประสบการณ์อย่าง SAP ที่อยากใช้ระบบ Blockchain แต่ยังไม่รู้จะเลือกค่ายไหน หาก SAP ใช้ Blockchain มาทำระบบก็จะเป็นคู่แข็งที่น่ากลัวเลยทีเดียว
  3. ธุรกิจที่จะใช้งาน VeChain จะต้องเพิ่มต้นทุนการผลิตมากขึ้น เพราะการที่จะใช้เทคโนโลยี NFC หรือ QR code ที่มีการระบุเลขที่ไม่เหมือนกันในแต่ละชิ้นนั้น จะต้องเพิ่มต้นทนการผลิต packaging มากขึ้น จึงมองว่าอาจจะยังใช้งานกับสินค้าราคาไม่แพง เช่น อาหาร เครื่องดื่ม บางชนิดไม่ได้

เขียนโดย Wuttichai Boonheng (Mr.TROS)

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.