Web 3.0 หรือ Decentralized web เป็นหนึ่งในแอพลิเคชั่นถูกคาดหวังจากเทคโนโลยี blockchain มากที่สุด เพราะการ decentralized อินเตอร์เน็ทนั้นจะเป็นการเปิดประตูให้กับการใช้งานรวมถึงกลบจุดด้อยหลายๆอย่างของอินเตอร์เน็ทในปัจจุบันเลยไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ประสิทธิภาพและความรวดเร็ว การ anti-censorship จากรัฐบาลและหน่วยงานผู้มีอำนาจ (เหมือนที่ไม่นานนี้ผู้คนกำลังตื่นตัวเรื่อง Net neutrality) รวมไปถึงการเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ทในปัจจุบันมีโอกาสเข้าถึงได้มากขึ้นด้วย
และถ้าผมจะบอกว่ามีโปรเจ็คหนึ่งกำลังดำเนินการ Decentralized internet จริงๆอย่างถึงฐานราก และตัวโปรเจ็คยังมีฟังก์ชั่นอื่นๆอีกมากมายอีกด้วย จะเชื่อกันไหมครับ ?? ขอเชิญพบกับ Skycoin โปรเจ็คที่เรากำลังพูดถึงในบทความนี้ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ
Product ของ Skycoin มีดังต่อไปนี้
Skycoin ก็คือตัวเหรียญของมันเองนั่นแหละครับ ใช้สำหรับใช้จ่าย หรือซื้อบริการต่างๆในระบบ ซึ่งเหรียญนี้จะใช้ consensus algorithm แบบใหม่ที่เรียกว่า “Obelisk” โดยจะขึ้นกับกลไกที่เรียกว่า “web of trust” ซึ่งจะให้ node แต่ละ node ทำการ subscribe กับ node อื่น node ไหนที่มีคน subscribe เยอะก็จะมีอิทธิพลในเครือข่ายสูงตาม Skycoin อ้างว่า Obelisk สามารถรองรับธุรกรรมได้ถึง 300 transaction ต่อวินาที โดยมี blocktime ต่ำสุดแค่ 2 วินาทีเท่านั้น (หมายถึงการทำธุรกรรมช่วงที่มี traffic น้อย จะสามารถทำเสร็จได้ไวสุดโดยใช้เวลาแค่ 2 วินาที)
No fee การทำธุรกรรมบนเครือข่าย Skycoin นั้นไม่เสียค่า fee ครับ แต่ user จะต้องทำการถือเหรียญไว้ในกระเป๋าเพื่อจะได้ Coin Hours มาใช้ ซึ่ง Coin Hours นี่แหละครับจะเอามาจ่ายแทนค่า fee (คล้ายๆ NEO กับ GAS แต่ต่างกันที่ว่า NEO นั้นมีไว้เพื่อขุด GAS อย่างเดียว ใช้จ่ายอะไรในระบบไม่ได้เลย ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นค่าส่ง, smart contract ใช้ GAS ทั้งหมด ส่วน Skycoin นั้นเป็นเหรียญตัวหลักของระบบ ส่วน Coin Hours เอาไว้จ่ายค่า fee เฉยๆ)

Skywire นี่คือส่วนที่เป็นหัวใจหลักของสโลแกน decentralized internet เราอาจเห็นโปรเจ็คมากมายที่ทำเกี่ยวกับ decentralized internet แต่แท้จริงแล้วเป็นการ decentralized web server หรือไม่ก็ cloud เฉยๆ แต่ Skycoin ยกระดับการ decentralized ขึ้นไปอีกขั้น โดยเป็นการ decentralized ISP !! แต่ละ node ในเครือข่ายจะทำหน้าที่เหมือนเป็น mini-ISP เชื่อมต่อกันเป็น mesh network เท่านี้เราก็จะได้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบ decentralized มาใช้แล้ว ซึ่งทางทีมอ้างว่า data ต้นทาง-ปลายทางจะถูก encrypted หมดทำให้ความปลอดภัยสูงมากและไม่สามารถแกะรอยได้เลย เท่านั้นยังไม่พอ user สามารถเชื่อมต่อกับนอกเครือข่ายโดยผ่าน exit node ได้อีกด้วย แต่แน่นอนว่า data เราจะไม่ secure เท่ากับเวลาอยู่ในเครือข่ายเอง (มีคนเคยลองดู Netflix ผ่าน node ของ Skycoin มาแล้วครับ)
ภาพ : แผนภาพ Skywire และ Meshnet จาก Skycoin whitepaper
New communication protocol Skycoin นั้นทิ้ง protocol แบบ TCP/IP หันไปใช้ protocol แบบใหม่ที่ชื่อว่า Multi-protocol Label Switching (MLPS) ทางทีมอ้างว่า protocol นี้จะช่วยให้แต่ละ node ติดต่อหากันได้ง่ายขึ้น เพราะแต่ละเส้นทางจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า แทนที่จะให้ node ค้นหาที่ที่จะส่ง packet ต่อไปเอง
Skyminer นี่แหละครับชื่อตัว node ของมัน ซึ่งก็จะช่วยเชื่อมต่อเครือข่าย รวมถึงให้พลังคำนวณแก่ระบบ โดยแต่ละ node จะเชื่อมต่อกันผ่านเสาอากาศ (Antenna) ซึ่งสเปคของ node แต่ละประเภทสามารถหาอ่านได้จากเว็บไซต์ของ Skycoin ผู้ตั้ง node จะได้รับค่าตอบแทนเป็นเหรียญ Skycoin โดยปัจจุบันมีผู้ตั้ง node แล้วกว่า 7,000 ราย
ภาพ : Skyminer ที่มา
Smart contract ครับ แค่ decentralized internet ยังไม่พอ โปรเจ็คนี้มันยังรองรับการเขียน smart contract อีกด้วย !! โดยภาษาที่ใช้เขียน smart contract บน Skycoin จะเป็นภาษา CX ซึ่งพัฒนาโดยทีม Skycoin เอง ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก Golang โดยจะมี syntax คล้ายกันครับ
Fiber เมื่อรองรับ smart contract แล้วก็ต้องมีแพล็ทฟอร์มสำหรับสร้าง Decentralized Application หรือ Dapp ซึ่งสำหรับ Skycoin จะเรียกแพล็ทฟอร์มนี้ว่า Fiber ซึ่ง Dapp ทุกตัวที่อยู่บน Fiber นี้จะมี blockchain เป็นของตัวเองเพื่อให้ไม่เป็นภาระกับ chain หลัก กล่าวได้ว่า Fiber นอกจากจะเป็นแพล็ทฟอร์มแล้วยังรองรับ sidechain ไปในตัวอีกต่างหาก
Cloud storage ใช่ครับ จะปิดท้ายให้ครบถ้วนเมื่อมีทุกอย่างแล้วก็มีต้องมีวิธีการเก็บ data โดย Skycoin ใช้วิธีแชร์ data ที่เรียกว่า CX Object System (CXO) โดยจะทำการเข้ารหัส data เข้ากับ private key ของผู้อัพโหลดทำให้ไม่มีใครสามารถแก้ไขข้อมูลนั้นได้นอกจากตัวของผู้อัพโหลดข้อมูลเอง
พาร์ทเนอร์และทีมงาน
ผู้ลงทุนใน Skycoin มีบริษัทชื่อดังในวงการคริปโตทั้ง Alphabit, Spaco ฯลฯ รวมถึงที่ปรึกษาก็มีทั้งผู้ก่อตั้งแพล็ทฟอร์มชื่อดังอย่าง Qtum และ Ark
ทีมงานนั้น Houwu Chen เป็นหนึ่งในทีมพัฒนา Ethereum รุ่นแรก ส่วน CEO Synth ก็เป็นหนึ่งใน contributor ให้กับ Bitcoin คนแรกๆเช่นกัน หากแต่ตัว CEO ก็กลายเป็นตัวดึงดูดดราม่าเสียเองเนื่องจากกรณีปัญหากับนักลงทุนกลุ่มหนึ่งเมื่อไม่นานนี้ ทำให้เกิดเรื่องอื้อฉาว ทั้งการบลัฟ ก่ออาชญากรรม รวมไปถึงมีคนถูกดำเนินคดีด้วย ทำให้โปรเจ็คถูกมองในแง่ไม่ดีจาก community ในระยะหลัง
ข้อดี
– โปรเจ็คมีศักยภาพสูงมาก เพราะเป็นการรวมทั้ง payment, decentralized internet และ smart contract platform เข้าไว้ด้วยกัน หากสำเร็จอาจเรียกได้ว่าเป็นการ disrupt วงการคริปโตได้เลย
– ecosystem ที่ครอบคลุมและยืดหยุ่น user สามารถใช้งานได้ในเครือข่ายของ Skycoin เอง หรือเชื่อมต่อกับระบบแบบเก่าก็ได้
– decentralized ISP นั้นเป็นจุดขายที่แปลกใหม่ แทบไม่มีโปรเจ็คไหนกล้าลงลึกถึงจุดนี้
ข้อด้อย
– scope ของโปรเจ็คกว้างและใหญ่มาก จนชวนให้คิดว่าอาจไม่ประสบความสำเร็จ
– Obelisk เป็น consensus algorithm แบบใหม่ ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์อย่างเต็มที่ถึงความปลอดภัยและยังคงความ decentralized ได้หรือไม่ ?
– product บางอย่าง Mesh network นั้นต้องการผู้ใช้จำนวนมากระดับหนึ่งก่อนถึงจะใช้งานได้อย่างเต็มที่
– CEO มีข่าวฉาวที่ค่อนข้างร้ายแรงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ชื่อเสียงนั้นถูกมองว่าไม่ดีจากสาธารณะ
สรุป
Skycoin เป็นโปรเจ็คที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานเยอะมาก ขอบเขตก็กว้างและครอบคลุม เรียกได้ว่าเป็นโปรเจ็คที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆในวงการคริปโตเลย (เล่นเอาเหนื่อยเลยครับกว่าจะสรุปเนื้อหาออกมาได้) ถ้า Skycoin ประสบความสำเร็จก็จะทำให้เหรียญคริปโตอื่นๆแทบทั้งหมดในวงการเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์แทบจะทันที หากแต่ขอบเขตที่กว้างของโปรเจ็คนี้ทำให้อาจกลายเป็นข้อเสียย้อนกลับมาได้ทั้งในเรื่องโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จและระยะเวลาที่ยาวนานกว่าจะผลิดอกออกผล นอกจากนี้ข่าวฉาวของ CEO เองในช่วงที่ผ่านมาทำให้ชื่อเสียงของ Skycoin ถูกมองในแง่ไม่ดีพอสมควร
ตัดเกรด
ความน่าสนใจ : A
ทีมงานและพาร์ทเนอร์ : B
การตลาด : D