มาทำความรู้จักกับ Stellar กัน หนึ่งในคริปโตที่ได้รับอนุญาตจาก กลต.ไทย

0
3522

Stellar คืออะไร

Stellar เป็นหนึ่งในสกุลเงินคริปโตที่ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งได้แยกออกมาจากสกุลของ Ripple โดย Jed McCaleb ด้วยเหตุผลที่ต้องการสร้างสกุลเงินที่สามารถให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ จึงได้จัดตั้งองค์กร และสกุลเงินคริปโตโดยไม่แสวงหาผลกำไร

ความสำคัญของ Stellar ต่อนักลงทุนไอซีโอในไทย

ในเดือน กรกฎาคม 2018 กลต.ไทย ได้รองรับให้ Stellar เป็นหนึ่งในคริปโตสำหรับบริษัทที่จัดตั้งภายใต้กฎหมายไทยสามารถใช้ระดมทุนไอซีโอได้

ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะออกไอซีโอต้องเป็นบริษัทที่จัดตั้งภายใต้กฎหมายไทยที่มีแผนธุรกิจและข้อกำหนดสิทธิของผู้ถือโทเคนดิจิทัลที่ชัดเจน มีการเปิดเผยซอร์สโค้ด แบบแสดงรายการข้อมูล ร่างหนังสือชี้ชวน และงบการเงินที่เป็นไปตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต.  ทั้งนี้ การออกไอซีโอแต่ละครั้งสามารถเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ultra high net worth investors) นิติบุคคลร่วมลงทุน (venture capital) กิจการเงินร่วมลงทุน (private equity) ได้โดยไม่จำกัดวงเงิน  ส่วนการเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายย่อยในแต่ละครั้งจะจำกัดวงเงินที่รายละไม่เกิน 3 แสนบาท นอกจากนี้ วงเงินรวมที่ขายผู้ลงทุนรายย่อย ต้องไม่เกิน 4 เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น หรือไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าที่เสนอขายทั้งหมด  โดยผู้ออกไอซีโอสามารถรับชำระค่าโทเคนดิจิทัลเป็นเงินบาทหรือคริปโทเคอร์เรนซี ได้แก่ Bitcoin, Bitcoin Cash, Ethereum, Ethereum Classic, Litecoin, Ripple และ Stellar

ที่มา: https://www.sec.or.th/th/Pages/News/Detail_News.aspx?tg=NEWS&lg=th&news_no=73&news_yy=2561

อีกทั้ง Stellar มีความโดดเด่นเรื่องความเร็วในการส่ง และมีต้นทุนในการส่งถูกกว่าคริปโตสกุลอื่นๆ จากเหตุการณ์ในอดีตการระดมทุนไอซีโอบางโครงการผ่านคริปโตสกุล Ethereum ก่อให้เกิดปัญหาความแออัดในระบบโดยรวม ยิ่งไปกว่านั้นนักลงทุนรายใหญ่ได้ยอมจ่ายค่า gas ที่แพงกว่านักลงทุนอื่นเพื่อให้ smart contact ที่ใช้ในการซื้อโทเคนได้รับการทำงานก่อนนักลงทุนอื่นซึ่งเรียกว่า Gas war

ทำความรู้จักสินทรัพย์หลักของ Stellar

Stellar ได้สร้างสินทรัพย์หรือเหรียญหลักของระบบเรียกว่า Lumen (ชื่อย่อ XLM) เปรียบเหมือน Ether ในระบบ Ethereum

สินทรัพย์หลักนี้ใช้สำหรับการใช้จ่ายค่าธรรมเนียมการใช้ระบบ, การซื้อขายเหรียญอื่นๆในระบบ และการสร้าง trustline เพื่อถือครองเหรียญที่มากขึ้น เพื่อป้องกันการสร้าง account Stellar จำนวนมากเกินไป ระบบได้บังคับให้ account ต้องถือครอง XLM อย่างน้อย 0.5 XLM ส่วนค่าธรรมเนียมของ transaction ในระบบอยู่ที่ 0.00001 XLM ต่อ transaction

ที่มา: https://www.stellar.org/developers/guides/concepts/fees.html

จุดเด่นของ Stellar

  • Stellar ใช้ระบบ consensus ของตัวเองเรียกว่า  Stellar Consensus Protocol ซึ่งทำให้ได้ความเร็วสูงกว่า และต้นทุนต่ำกว่า Proof of work โดยเฉลี่ยระยะเวลาการปิด ledger ของ Stellar อยู่ในช่วง 4 – 6 วินาที

สามารถเข้าไปดูสถานะต่างๆของระบบได้จาก https://dashboard.stellar.org/

  • ในทางกลับกัน Node validator ในระบบของ Stellar จะไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ ค่าธรรมเนียมที่ถูกใช้จ่ายในระบบจะถูกนำมากระจายคืนแก่ผู้ใช้ระบบทุกอาทิตย์ เรียกว่าค่าเงินเฟ้อ (inflation) รวมถึงเป็นการกระจาย XLM ให้แก่ผู้ถึอครองก่อนหน้า เนื่องจาก XLM จะถูกนำมากระจายในระบบปีละ 1% ทำให้มูลค่าของ XLM จะลดลงทุกปี
  • Stellar decentralized distrubuted exchange เป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่ต่างคริปโตสกุลอื่นๆ โดยทุกเหรียญที่อยู่ในระบบ Stellar จะสามารถแลกเปลี่ยนกันผ่านระบบซื้อขายนี้ได้ ต่างจากเหรียญในระบบอื่นๆ เช่น Ethereum ที่ต้องรอตลาดซื้อขายนำเข้าระบบเอง อย่างไรก็ตาม volume การซื้อขายในระบบยังมีน้อยเมื่อเทียบกับตลาดซื้อขายอื่น

https://coinmarketcap.com/exchanges/stellar-decentralized-exchange/

  • ด้าน partnership ในปีที่ผ่านมา Stellar และ IBM ได้ประกาศเป็น partnership โดย IBM ให้ความสนใจที่จะใช้ระบบ Stellar เพื่อส่งเงินระหว่างประเทศ และปัจจุบัน IBM ได้เปิด Stellar node validator อยู่ในหลายทวีปทั่วโลก อีกทั้งในอนาคต IBM มีแผนที่จะนำ Stellar เป็น Blockchain solution สำหรับบริษัทขนาดใหญ่อีกด้วย

สรุป

Stellar เป็นคริปโตน้องใหม่ที่แยกตัวออกมาจาก Ripple เน้นให้บริการทางการเงินแก่บุคคลทั่วไปโดยม่ต้นทุนต่อ transcation ต่ำ ความเร็วสูง และรองรับจำนวน transaction ได้มากขึ้น ในปัจจุบันได้มีบางบริษัทได้เร่ิมใช้งาน Stellar ในการระดมทุนไอซีโอแล้ว รวมถึงในประเทศไทยเองก็ยังรองรับให้ระดมทุนไอซีโอได้อย่างถูกกฎหมาย

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.