ข้อแตกต่างระหว่าง Ethereum Tokens: ERC-20 vs ERC-223 vs ERC-721

2
1919

ถ้าคุณรู้จัก Ethereum ที่พึ่งฉลองครบรอบ 3 ปีไป และถ้าคุณรู้ลึกลงไปอีกเกี่ยวกับ Smart Contract ที่ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดแข็ง คุณก็คงเคยได้ยิน มาตราฐานต่างของ Token ที่ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยการใช้งานเป็นสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) อันที่จริงผู้เขียนใช้คำว่า “สัญญาอัจฉริยะ” มันก็ดูเกินจริงไป เพราะถ้าแปลความหมายมาเป็นภาษาไทย อันที่จริง มันก็คือสัญญาปกติที่เวลาเราจะซื้อขาย หรือทำธุรกิจ ธุรกรรม หรือแม้กระทั่งการจ้างงาน สัญญาว่าจ้างต่างๆ เพียงแต่มันไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่สำหรับ Ethereum มันก็คือสัญญาพวกนั้นแหละ เพียงแต่มันอยู่ในโลกดิจิตอล ที่ทำงานอยู่บนเครือข่าย Ethereum เท่านั้นเอง

มาว่ากันต่อเรื่องมาตราฐานของ Token บน Ethereum ซึ่งหลายท่านน่าจะคุ้นหูกับมาตราฐาน ERC-20 กันอยู่แล้ว เพราะ Token ส่วนมากที่ทำงานบนเครื่อข่าย Ethereum ได้ใช้มาตราฐานนี้ งั้นเรากลับมาที่ตัวย่อ ERC ก่อนว่ามันย่อมาจาก “Ethereum Request for Comment” และตัวเลขที่ตามมาด้านหลงนั้นก็บ่งบอกถึงมาตราฐานที่ใช้ เอาตามตรงผมก็ไม่รู้จะแปลมาเป็นภาษาไทยว่าอย่างไงดี สำหรับคำเต็มๆ ของ ERC ผมก็แนะนำว่าแค่รู้ว่าแต่ละมาตราฐานมันต่างกันอย่างไงก็คงจะเพียงพอแล้ว สำหรับบทความนี้ ก็จะมาแนะนำสั้นๆของแต่ละมาตราฐานของ Ethereum กัน
ERC-20 คืออะไร

ERC-20 พวกเราต้องคุ้นหูกับมาตราฐานนี้กันเป็นอย่างดี เนื่องด้วยพูดได้ว่าเหรียญที่พวกเรารู้จักกันนั้น ที่มีการทำ ICO ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นมาตราฐานนี้แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น POWR, OMG, QSP หรือกระทั่งเหรียญแพลตฟอร์มชื่อดังอย่าง BNB หรือ Binance token ก็ยังใช้มาตราฐานนี้

โดยเหรียญที่เป็น ERC-20 นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานบนแพลตฟอร์มของ Ethereum และใช้งานได้บน Ethereum Blockchain เท่านั้น จะพูดง่ายๆได้ว่า ERC-20 คือภาษาที่ผู้ใช้สามารถส่งมูลค่า (Value) จากที่นึ่งไปอีกที่นึ่ง ซึ่งการทำงานหรือการจัดเก็บข้อมูลของมาตราฐานนี้ทำได้ง่ายเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักพัฒนากระเป๋าสามารถนำไปใช้กับเหรียญอื่นๆที่เป็นชนิดเดียวกันโดยไม่ต้องนั่งเขียนโปรแกรมให้มันยุ่งยาก ซึ่งใครก็ตามที่เข้าใจก็ Solidity ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบน Ethereum ก็สามารถสร้างเหรียญได้ แต่เพราะมันง่ายเนี่ยแหละ ถ้าผู้ใช้ส่งเหรียญ ERC-20 ไปผิดที่ ผิดทาง มันก็จะทำให้เหรียญจำนวนนั้นหายไปตลอดกาลได้ โดยเหตุนี้ จึงนำพาไปยังมาตราฐานต่อไปคือ ERC-223
ERC-223 คืออะไร

ERC-223 เอาง่ายๆเลยมันก็คือ ERC-20 นั้นแหละ แต่เพิ่มความสามารถให้สามารถเรียกเหรียญคืนกลับมาเมื่อส่งไปผิดที่อยู่ หลายคนอาจจะบอกว่า ไม่เห็นจำเป็นเลย แต่เดี๋ยวก่อน ปัจจุบันนี้

  • 310,067 GNT หรือเหรียญ Golem นั้นติดอยู่ใน Golem Contract ซึ่งเอากลับมาไม่ได้ มูลค่า $74,930 (03-Aug-18)
  • 242 REP หรือ Augur ก็ไม่สามารเอาออกมาได้ มูลค่า $7,412 (03-Aug-18)
  • 814 DGD หรือ Digix DAO ก็เช่นกัน มูลค่า $65,803 (03-Aug-18)

อันนี้แค่ที่พอมีข้อมูล แล้วเหรียญอื่นๆที่ไม่มีข่าวอีกมากมาย ซึ่งมูลค่าจริงๆแล้วน่าจะไม่น้อย ลงรายละเอียดกันอีกนิด โดยปกติแล้วการส่งเหรียญ ERC-20 จำเป็นต้องใช้การส่งข้อมูล 2 ครั้ง แต่ ERC-223 นั้นรวบเหลือขั้นเดียว ซึ่งจำทำให้ประหยัดค่า GAS ที่ใช้ส่งมากขึ้น

ERC-223 โดยมาตราฐานนี้ตั้งใจเพื่อพัฒนา ERC-20 โดยมีการแจ้งเตือนไปยังผู้รับก่อนว่ามีการส่งเกิดขึ้น แต่ใน ERC-20 ไม่สามารถที่จะจัดการกับเหรียญหรือข้อมูลที่ส่งมาได้ หรือกระทั้งยกเลิกการส่งข้อมูลนั้นๆ กลับกัน ERC-223 เข้ามาเพิ่มความสามารถในจุดนี้ ซึ่งนักพัฒนาสามารถเพิ่มโค้ดเข้าไปเพียงเล็กน้อย โดย https://radex.ai/welcome เป็น exchange แรกที่รองรับ ERC-223 โดยเหรียญที่ใช้มาตราฐานนี้ยังมีไม่มาก โดยตัวที่เคยได้ยินชื่อมากที่สุดคงจะเป็น Digitex Futures
ERC-721 คือะไร

ERC-721 โดยมาตราฐานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ EIP (Ethereum Improvement Proposal) ที่ได้รับการเสนอโดย Dieter Shirley ปลายปีที่แล้ว โดยเหรียญชนิด ERC-721 นั้นแตกต่างจากทั้งสองอย่างข้างต้นมากโขอยู่ และมีจุดที่แตกต่างออกไป เพราะเหรียญชนิด ERC-721 มัน Non-Fungible หรือง่ายว่า ทดแทนไม่ได้ ฟังดูดีมาก โดย ERC-20 และ ERC-223 เหรียญมีจำนวนเป็นตัวชี้วัดของเหรียญนั้นๆ แต่ ERC-721 เหรียญ ทุกเหรียญนั้น Unique หรือแตกต่างกัน เหมือนม้าลายนั่นเอง Rare หายาก และเป็นคะแนนชี้วัดความแตกต่างในหลายๆทาง มากกว่าสองมาตราฐานก่อนหน้า

ซึ่งมีการนำไปพัฒนาใช้จริงแล้ว และพวกเราก็รู้จักกันป็นอย่างดี เพราะมันออกมาเขย่าวงการได้พักใหญ่ๆ นั่นก็คือ CrytoKitties ที่เป็นที่รู้จักกันดีนั่นเอง แต่ละตัวมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งการใช้ความสามารถของ Blockchain ยังเพิ่มความปลอดภัย กับเพิ่มมูลค่าให้ตัวมัน และยังช่วยให้มันโอนถ่ายเปลี่ยนมือได้อย่างปลอดภัยและง่าย ที่ซึ่งใครก็สามารถแลกเปลี่ยนมันได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลก

0_BuFqft5aGIOeEtDd

ลองจินตนาการดูนะครับว่า ERC-721 เหมือนเป็นแร่ธาตุขนิดนึงที่เป็นคุณค่าในการผลิตอะไรสักอย่าง เช่น ยารักษาโรค มันจะไม่มีคุณค่าเลยเมื่อมาอยู่ในมือพวกเรา แต่มันจะมีคุณค่าเมื่ออยู่ที่ที่มีคนต้องการมัน เอาใกล้ตัวมาอีกนิด กรมธรรม์ ประกันภัย มันจะไม่มีประโยชน์เลยเมื่อมันไปอยู่กับคนอื่น ที่ไม่ใช่เจ้าของ แล้วถ้าอยู่บน Blockchain สามารถบ่งบอกเจ้าของได้ ต่อไปทุกคนก็จะเข้าถึงประกันภัยของตัวเองได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลก เพราะมันบ่งบอกความเป็นเจ้าของโดยตัวมันเอง สามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งมีอื่นๆอีกมากที่สามารถนำไปใช้ได้ เช่น โฉนดที่ดิน, บัตรคอนเสิร์ต หรือกระทั่งข้อมูลประชาชน

แต่การออกเหรียญชนิดนี้นั้น ค่อนข้างจะยุ่งยาก และต้องใช้ gas จำนวนมาก เพื่อได้สิ่งที่ไม่สามารถทดแทนได้อย่างเหรียญ ERC-721 ซึ่งปัจจุบันเป็นไปได้ยากที่จะสร้าง Smart Contract ให้สินทรัพย์แต่ละชิ้น ณ เวลาที่เขียนนี้ ซึ่งปัจจุบันท่าหาข้อมูลเพิ่มจะเห็นได้ว่า เหรียญ ERC-721 นั้นมีแค่ 127 เหรียญ แต่มีการใช้จริง แค่ 35 เหรียญเท่านั้น
บทส่งท้าย

หวังว่าทุกคนจะได้ความรู้เพิ่มเติมไม่มากก็น้อยจากบทความนี้ โดยความเห็นของผู้เขียนนั้นคาดว่าในอนาคต Digital Asset ต่างๆ จะพัฒนาอยู่บนมาตราฐาน ERC-721 แต่สุดท้ายแล้วอาจจะมีมาตราฐานใหม่ออกมา เพื่อพัฒนาความสามารถของ Ethereum เอง หรือสำหรับวงการ Blockchain ก็เป็นได้ เพราะพวกเรายังอยู่นั้นยุคหินของ Blockchain ก็ว่าได้ และพบกันใหม่บทความถัดไป ยังไม่รู้ว่าหัวข้อจะเป็นอะไร แต่ก็ฝากติดตามกันต่อไปด้วยครับ ขอบคุณทุกกำลังใจครับ

2 COMMENTS

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.