รีวิว Hypernet – โละ Cloud Computing รูปแบบเดิมๆ พบกับโปรเจค ที่จะมาเป็น Decentralized Cloud Computing Killer!!!

1
1045

รีวิว Hypernet – โละ Cloud Computing รูปแบบเดิมๆ พบกับโปรเจค ที่จะมาเป็น Decentralized Cloud Computing Killer!!!

โปรเจคจำพวก Cloud computing ในโลก Decentralized ก็ออกมาจำนวนมากมายไม่ว่าจะเป็น Golem, Sonm, iExec และอีกมากมาย ที่มีเป้าหมายที่จะมา Disrupt วงการ Cloud Computing ในปัจจุบัน ซึ่งแต่ละโปรเจคก็ใช้วิธีแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันไป โดยวันนี้แอดณะไปเจอโปรเจค Decentralized Cloud Computing ที่น่าสนใจอีกตัวนึงที่ชื่อว่า Hypernet แต่มันน่าสนใจกว่าตัวอื่นยังไงเพื่อนๆมาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้ครับ

แนวทางการแก้ไขปัญหา Cloud Computing ในปัจจุบัน

แอดจะไม่ขอพูดถึงเรื่องของปัญหาว่าทำไมโปรเจค Cloud Computing แบบ Centralized ในปัจจุบันมีปัญหาเพราะอะไรหลายๆคนน่าจะรู้กันบ้างอยู่แล้ว (พวกเรื่อง cost, ความปลอดภัย, scalibility ต่างๆ) คราวนี้ผมจึงมายกตัวอย่างจากโปรเจค Decentralized Cloud Computing ในปัจจุบันว่าไอเดียในการแก้ปัญหาเค้าทำยังไงแล้วเทียบกับ Hypernet แตกต่างอย่างไร โดยจะขอสรุปมาจากที่แอดได้ไป research มาจาก website ต่างๆและจะกล่าวถึงไอเดียคร่าวๆของ Golem และ Sonm เพื่อให้เห็นภาพกันง่ายขึ้น

Tech.png

Golem ถือได้ว่าเป็นโปรเจค Decentralized Cloud Computing ตัวแรกที่มองเห็นถึงปัญหาของระบบ Cloud Computing ในปัจจุบัน โดยแนวทางการแก้ไขของ Golem คือการใช้สถาปัตยกรรมแบบ Grid Computing อธิบายง่ายๆได้ว่าการนำคอมพิวเตอร์จากหลายๆที่มาเป็น Node และเชื่อมต่อหากันและกันเพื่อแชร์ Computing power โดยทำงานแบบ Parallel ให้กับลูกค้าที่ต้องการใช้งานแต่ข้อเสียของระบบ Grid Computing ก็คือบริหารจัดการยากเช่นบางโปรแกรมที่จะรันมันมี License อยู่นั้นหมายความว่าไม่ใช่คอมทุกเครื่องจะขาย Computing power ได้เพราะต้องหาโปรแกรมถูกลิขสิทธิ์มาลงไว้ในเครื่องก่อนอีกทั้งรูปแบบ data บนโลกมันมีมากมายหลายประเภททำให้การสร้าง Grid Computing ยังต้องเฉพาะเจาะจงในบางประเภทงานเท่านั้น  ซึ่ง ณ ตอนนี้ Golem ได้มุ่งกลุ่มเป้าหมายไปยังพวก Process Rendering เช่น การทำ CGI, Animation ต่างๆ และ platform นี้จะเสร็จภายในปี 2019-2020

Sonm  ใช้แนวทางการแก้ไขคล้ายๆ Centralized Cloud Computing แบบเดิมคือการรวม Computing power จาก Computer ต่างๆที่เป็น Node เข้ามารวมอยู่ใน Hub กลางหรือเรียกง่ายๆก็คือการทำ Super world computer จาก Computing power ทั่วโลกนั้นเองแน่นอนว่าในแง่ของการบริหารจัดการสามารถทำได้ง่ายที่ Hub แต่ข้อเสียที่ตามมาก็คือถ้าเกิดปัญหาอะไรที่ Hub ทุกอย่างก็จะพังลงไปพร้อมกันรวมถึงยังมีปัญหาด้าน Traffic และ Scaibility

จากทั้ง 2 โปรเจคข้างต้นจะเห็นได้ว่ายังใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเดิมเข้ามาแก้ปัญหาอยู่ซึ่งรูปแบบเดิมพวกนี้ถ้าเอามาใช้กับระบบ Decentralized ทาง Hypernet มองว่ายังติดปัญหาอยู่หลายอย่างตามที่กล่าวไปข้างต้นรวมไปถึงถ้าเป็นระบบกระจายศูนย์การจะตรวจสอบจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พร้อมใช้งานจะทำได้ยากเพราะมีจำนวนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้การทำงานแบบ Parallel ต้องมีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเพิ่มขึ้นระหว่าง node แต่ละ node ทำให้แทนที่เราจะลด cost ด้านอื่นๆลงแต่กลับต้องมี cost ในการยืนยันคำสั่งต่างๆ, ส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลหากันระหว่าง node เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น

สุดท้าย Hypernet คิดว่าสถาปัตยกรรมแบบเก่าๆนั้นไม่ตอบโจทย์ของการกระจายศูนย์ที่แท้จริง จึงคิดค้นสถาปัตยกรรมแบบใหม่ขึ้นสำหรับ Decentralized Cloud Computing โดยเฉพาะและตั้งชื่อมันว่า Hypernet Protocol

Hypernet Protocol

โครงสร้างพื้นฐานของ Hypernet ประกอบไปด้วย 3ส่วนหลัก

  • Blockchain Resource Scheduler เป็น layer สำหรับผู้ใช้งานทั้ง Buyer และ Seller โดยหลักการทำงานก็คือ Buyer จะตั้ง parameter ที่ต้องการส่งไปยัง Seller เช่นราคาที่จะซื้อ Computing power, Spec ขั้นต่ำของอุปกรณ์ที่จะนำมาขาย Computing power, ไฟล์ต่างๆที่จำเป็นในการ Processing ของ Seller หลังจากใส่ Parameter ทั้งหมดแล้วก็จะ Generate เป็น Smart contract ออกมา ส่วนฝั่ง Seller ก็จะใส่ Parameter ว่าคอมจะว่างตอนไหน ใช้ได้กี่% ใช้ได้นานแค่ไหนรวมถึงราคาที่จะขาย และ Scheduler จะเป็นตัว Matching Buyer กับ Seller เข้าด้วยกันตาม Parameter ของทั้ง 2ฝั่งแบบ Marketplace ปกติ (เพิ่มเติม Seller แท้จริงก็คือ Nodes ที่เชื่อมต่อ Computing power กัน)
  • Distributed Average Consensus Computing API ในส่วนนี้คือ API ที่จะทำให้ฝั่ง Buyer และ Seller สามารถจัดการคำสั่งของตัวเองได้ง่ายขึ้น และที่พิเศษไปกว่าระบบ Cloud computing ทั่วไปก็คือ API ของ Hypernet จะถูกยกระดับด้วยหลักการคณิตศาสตร์ที่ชื่อว่า Distributed Average Consensus (DAC) มาเป็นสถาปัตยกรรมแบบใหม่สำหรับระบบ Decentralized Cloud Computing โดยเฉพาะ ทาง Hypernet เคลมว่าด้วยหลักการ DAC จะทำให้การทำงานแบบขนานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกทั้งยังสามารถรองรับข้อมูลได้ทุกรูปแบบเช่น Dot, Vector, Mean squares เพื่อการใช้ Computing Power ทุกรูปแบบ และยังแก้ไขปัญหาสำหรับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นจำนวน Node ที่อาจจะหายไปและการเปลี่ยนแปลงของ Bandwidth สมมติว่า Node หายไป 1 Node ถ้าเป็นระบบแบบปกติจะต้องมีการแชร์ข้อมูลกันเพิ่มขึ้นเพราะ Data ที่เรากำลังวิเคราะห์จากปกติ มี 5 Node อาจจะแบ่งแบบหาร 5 แต่พอมี Node หายไป Data ที่ได้รับมอบหมายในแต่ละ Node ก็จะเปลี่ยนแปลงไปทำให้ต้องมีการส่งข้อมูลกันค่อนข้างเยอะและจะทำให้ Cost เพิ่มขึ้นนั้นเอง
  • Hypernet Executable Environment เป็น Layer สำหรับฝั่ง Buyer ซึ่งจะทำให้ระบบภาพรวมทั้งหมดมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และสะดวกสบายสำหรับการใช้งาน โดย Hypernet จะใช้รูปแบบของ Sandbox สำหรับการสั่งงานเพื่อตัดขาดระหว่าง Buyer และ Hardware ของ Seller

    RM hy.PNG
    Technical Road map ของ Hypernet ซึ่งตัว MVP ทั้งหมดจะเสร็จภายในสิ้นปีนี้

Token Economies

Fucntion การทำงานของ Hypernet tokens ตาม White paper จะแบ่งออกเป็น 4อย่างดังนี้

  1. Currency โดย Hypernet Tokens จะเป็นสกุลเงินภายในระบบสำหรับการค่าตอบแทนที่ Buyer ต้องจ่ายให้กับ Seller
  2. Collateral Buyer และ Seller ต้องทำการถือ Token สำหรับการสั่งงานและการรับงานเพื่อเป็นหลักประกันการกระทำอันไม่พึงประสงค์ในระบบและส่งเสริมให้มีการ Hodl Token เพื่อทำให้ Eco-systems ของ Hypernet ดีมากยิ่งขึ้นควบคู่ไปกับระบบ Reputation ว่าง่ายๆก็คือเรทติ้งนั้นเองที่จะบันทึกลงบนระบบ Blockchain ก็เหมือนบน Ebay ที่ถ้าใครดาวเยอะก็แสดงว่าน่าเชื่อถือ
  3. Availibity Mining ทาง Hypernet อยากให้มี Nodes ในระบบพร้อมใช้งานสำหรับ Buyer ที่จะเข้ามาได้เยอะๆ จึงมีฟังค์ชั่นนี้เพิ่มขึ้นเพื่อให้คนที่อยากจะขาย Computing Power เข้ามารอใน Lobby พร้อมใช้งานตลอดเวลาโดย Nodes เหล่านี้จะได้รับ Incentive บางส่วนจากการเข้ามา Online รอใน Lobby นอกจากนี้ยังมีการ Challenge Nodes อื่นๆเพื่อทดสอบว่า Node นั้นๆ Online อยู่จริงถ้าไม่จริงจะมีการยึดหลักประกันบางส่วนเพื่อแจกจ่ายให้กับ Node ที่เข้ามา Challenge เพื่อไม่ให้มีคนมาแอบอ้างรับเหรียญฟรีๆจากการ Online หลอกๆนั้นเอง
  4. Voting ก็เหมือนในโปรเจคอื่นๆที่ Token จะใช้ในการ Vote เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบว่าได้รับการยอมรับหรือไม่จากบรรดาผู้ถือเหรียญ

ในส่วนของ Token Metric ยังไม่ได้ประกาศแต่แว่วๆมาว่า Hardcap 15ล้าน$ ซึ่งจะเป็น ERC20 ในช่วงแรกและมี Bonus หลายแบบสำหรับรอบ Private โดย Bonus สูงสุดน่าจะอยู่ราวๆ 3-5เท่าแต่แลกมาด้วยการล็อครวมประมาณปีครึ่งก้อนแรกได้ตอนครบ 9เดือนและทยอยจ่ายอีก 9เดือน ก็อาจจะป้องกันการเทได้ในระดับหนึ่งมั้ง!?

Team&Advisor

คือทีมเรียกได้ว่าจบมาค่อนข้างสูงจบปริญญาโท,เอก จาก Standford เลยทีเดียวแต่ทว่าค่อนข้างไปทางพวกการบิน,อวกาศซะมากกว่าโดยหลักๆมี

Hypernet team.JPG

Todd Chapman (CTO&Cofounder) ที่เคยทำงานในด้านการ research เรื่อง Numerical methods ที่สามารถหาประมาณการคำตอบได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้ Super computer ซึ่งเป็นการ research ที่ทำให้เค้าได้ไอเดียในการทำโปรเจค Hypernet และร่วมนำทีมเทคโนโลยีกับ Christopher Hansen ที่เคยฝึกงานใน Twitter และ Facebook รวมถึงมีประสบการณ์การทำงานใน Nvidia

ส่วนผู้ก่อตั้งคนอื่นอย่าง Daniel Marren ก็ประสบความสำเร็จใน Start up ของตัวเองเช่น Dragonfly systems ที่ทำเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์และถูกซื้อไปโดยบริษัท SunPower Cooperation (อยู่ในตลาดหุ้น NASDAQ มูลค่ารวมราวๆ 2.7พันล้าน$ตอนเค้าขายบริษัท) ในส่วนของ Advisor จะมีประสบการณ์ในส่วนของ Computer และ Blockchain เพื่อมาให้คำแนะนำในส่วนที่ทีมงานอาจจะยังไม่แข็งแกร่งเช่น Co-founder ของ district0x

จุดได้เปรียบ

  • ตลาดของ Cloud Computing นั้นมีขนาดใหญ่ทำให้มีโอกาสเติบโตค่อนข้างสูง
  • มีวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างจากคู่แข่งทำให้น่าสนใจและสร้างความ Hype ได้มากขึ้น ทำให้น่าที่จะลองเสี่ยง
  • ถ้า Hard cap แค่  15ล้าน$ ก็ถือได้ว่าน่าสนใจเลยทีเดียว
  • ทีมมี Profile ที่ดีประสบความสำเร็จจาก Start-up ที่เคยทำมา
  • ผมค่อนข้างชอบในทีมงานที่มาดูแลตอบคำถามใน Channel telegram เองไม่เหมือนบางโปรเจคที่จ้างทีม Admin มาและไม่สามารถตอบคำถามในเชิง Technical ได้

จุดพิจารณา

  • Private sale โบนัสเยอะมากที่ได้ยินมาแต่ก็ยังดีที่มีการล็อคค่อนข้างนาน
  • ผู้ก่อตั้ง 2คนไม่ได้มีประสบการณ์ด้าน Computer และ Blockchain เลยก็ถือเป็นจุดที่น่ากังวลในระดับหนึ่ง
  • ไอเดีย DAC ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบใหม่ค่อนข้างเสี่ยงที่จะทำได้จริงและมีคู่แข่งที่เป็นโปรเจคแนวๆนี้ค่อนข้างเยอะและใช้วิธีแบบดั้งเดิมซึ่งไม่มีใครรู้ว่าอนาคตใครจะทำได้จริงและชนะในศึก Decentralized Cloud Computing
  • เป็นโปรเจคจากทาง USA ซึ่งมีข้อกังวลในเรื่องกฎหมายของเค้าถ้าเกิดมีปัญหาเกี่ยวข้องกับ SEC อาจจะทำให้คนถือเหรียญซวยเหมือนบางโปรเจคที่เคยเกิดขึ้น (ถ้าเคลียร์เรื่องกฎหมายเสร็จก่อนระดมทุนก็น่าจะไม่เป็นอะไร)
  • ยังขาดพันธมิตรและ Advisor ที่แข็งแกร่งเพื่อสร้างความ Hype ให้กับโปรเจคมากกว่านี้
  • ยังไม่มี Github หรือ Prototype ออกมาให้เห็นซึ่งทีมงานบอกว่าจะปล่อยออกมาเร็วๆนี้ เราก็ต้องมารอดูกันครับ

สรุป

ถือได้ว่าเป็นโปรเจคที่แอดณะค่อนข้างชอบเพราะมี Potential ที่จะสามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริงก็อาจมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการ Hype กันในเรื่องของ Conceptใหม่ๆในระยะสั้นในส่วนระยะยาวต้องมาดูกันอีกทีว่าจะทำได้จริงมั้ยนอกจากนี้ปัจจุบันตลาด Cloud Computing ก็มีขนาดใหญ่อยู่แล้วถ้าจะมีผู้อยู่รอดซัก 2-3 ราย Hypernet ก็อาจจะเป็น 1 ในนั้นถ้าเกิดโครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบใหม่ของเค้าออกมาเวิร์คแต่ก็ยังมีข้อกังวลหลายๆส่วนที่ผู้อ่านต้องตัดสินใจความเสี่ยงกันต่อไปครับ

Website , Whitepaper , Telegram

หมายเหตุ: การลงทุนใน ICO มีความเสี่ยงสูงมาก ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนทำการตัดสินใจลงทุน (Do your own research) ทางทีมงาน Bitcoin Addict Thailand จะไม่รับผิดชอบในความสูญเสียทุกกรณี

1 COMMENT

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.