COT คืออะไร สุดยอดโปรเจค IoT หนึ่งในพันธมิตรของ ONT เจ้าของตำนาน Airdrop มูลค่านับแสนบาท!!!

0
3859

COT คืออะไร

ในยุคนี้โปรเจคจำพวก IoT กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณสมบัติต่างๆของ Blockchain จะทำให้ IoT สามารถยกระดับไปได้อีกขั้น และในบรรดาโปรเจค IoT ในโลก Blockchain ต่างๆได้มี 1 ตัวที่น่าจับตามอง นั้นก็คือ COT ที่เป็น 1 ในพันธมิตรของสุดยอดเหรียญระดับพระกาฬอย่าง Ontology (ONT)

        โดย COT จะนำเทคโนโลยีที่ผสมผสานกันระหว่าง IoT และ Blockchain โดยใช้รูปแบบโครงสร้างของ Multi-Chain ที่ทำให้เหนือกว่ารูปแบบการใช้งานของ IoT กับ Public Blockchain ในปัจจุบัน เนื่องจาก Smart contract ทั่วไปยังไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับข้อมูล IoT เพราะว่าข้อมูลประเภทนี้มีปริมาณการ Upload เข้าโครงข่ายของ IoT น้อยแต่ความถี่สูง Public Blockchain ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถตอบสนอง การเชื่อมต่อความเร็วการส่งข้อมูลระดับนี้ได้

ปัญหาของเทคโนโลยี IoT ในปัจจุบัน

        ขอเกริ่นก่อนว่าในสมัยนี้ Data หรือข้อมูลมีความสำคัญมาก สำคัญถึงขนาดที่ว่ามีคนกล่าวว่า “Data is the new gold” เลยด้วยซ้ำ ในปัจจุบัน Data นั้นมีจำนวนมากมายมหาศาล ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างก้าวกระโดดของ IoT devices ซึ่งข้อดีของ IoT devices (อุปกรณ์อัจฉริยะ) ก็คือเมื่อถูกใช้งานมันสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างละเอียด หรือแม้กระทั้งเวลาอยู่เฉยๆก็ตาม นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลาทำให้มันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอุปกรณ์เครื่องอื่นๆในเครือข่ายได้ แต่ทว่า ข้อมูลเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะถูกผู้ไม่หวังดี ดัดแปลงหรือแก้ไขอยู่!!

        ในความเสี่ยงนี้ทำให้หนึ่งในจุดเด่นของเทคโนโลยี Blockchain น่าจะนำมาประยุกต์ใช้กับ IoT ได้ เพราะเมื่อเวลาข้อมูลถูกบันทึกลงไปบนระบบ Blockchain มันจะสามารถรับรองได้ว่าข้อมูลจะไม่ถูกบิดเบือนหรือแก้ไข แต่อย่างไรก็ตามระบบ Block chain ก็ยังมีจุดอ่อนอยู่โดยจุดอ่อนที่ว่านั้นก็คือ มันไม่สามารถรับรองความถูกต้องของข้อมูลบนระบบได้

        จากจุดเด่นของ 2 เทคโนโลยีด้านบนทำให้การนำเอา IoT เข้ามาใช้ร่วมกับ Blockchian จึงเป็นอะไรที่ลงตัวมาก ข้อมูลที่ IoT devices เก็บได้จะถูกบันทึกเข้า Blockchain ผ่านอินเตอร์เน็ต การรวมกันของ 2 เทคโนโลยีนี้ทำเราเรามั่นใจได้ว่า ข้อมูลที่ถูกบันทึกจะแม่นยำและถูกต้องอีกทั้งยังแก้ไขปลอมแปลงไม่ได้อีกด้วย

ทว่าการผสานกันระหว่าง 2 เทคโนโลยีนี้ ยังคงมีปัญหาบางส่วนซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอนการสร้างระบบ นั่นก็คือ

  1. ความซับซ้อนของ Business Logic ใน IoT ต่างๆ และปัจจุบัน Smart contract ของ Public Blockchain ยากที่จะตอบโจทย์ได้
  2. ปริมาณข้อมูลการ Upload เข้าโครงข่ายของ IoT น้อย แต่ความถี่สูง และ Public Blockchain ในปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองความเร็วการส่งระดับนี้ได้

ทำความรู้จักกับ COT

        COT (Chains of Things) เป็นโปรเจคหนึ่งที่พยายามจะแก้ไขปัญหาในลักษณะคล้ายกันนี้ ด้วยโครงสร้างแบบ Multi-chain โดยหวังเหวิ่นผู้ก่อตั้ง COT และ CEO กล่าวว่า จุดยืนของ COT คือ การเป็นผู้ให้บริการเครือค่าย IoT ด้วยโครงสร้างเครือข่ายข้อมูลฐานเบื้องต้นของIoT บน Blockchain ซึ่งเป็น “Multi-chain”โดยในตัว Public Blockchain ของ COT จะมีการจัดเตรียมโครงข่ายพื้นฐานให้ใช้สำหรับการบันทึกสถานะของ “สิ่งของ”และเรียกโอน Module พื้นฐานที่สัมพันธ์กับอุปกรณ์ดำเนินการของ IoT ซึ่งประกอบไปด้วย การยืนยันตัวตน (Identification), เครื่องแสกน Barcode อุปกรณ์ที่เชื่อถือได้ (Trusted Device) และทรัพยากรมูลฐานเบื้องต้นอื่นๆ

        COT สามารถทำการปรับแต่ง Public Blockchain และสามารถทำงานแบบ Cross chain ได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ขายข้อมูลไม่ต้องการให้ข้อมูลถูกเผยแพร่แบบสาธารณะ ก็สามารถทำได้โดยตั้งค่าให้ปรากฏเพียงแค่พันธมิตรของตนบนโครงข่ายได้

        หวังเหวิ่นกล่าวว่า COT สามารถช่วยให้ผู้ใช้อุปกรณ์หรือผู้ให้ข้อมูลรักษาสิทธิของตัวเองได้อย่างแท้จริง ด้วยการติดตั้งฮาร์ดแวร์พื้นฐานที่เชื่อถือได้ ผนวกกับความน่าเชื่อถือของ blockchain

        ปัจจุบัน COT ได้ผลิตฮาร์ดแวร์อัจฉริยะออกมาแล้วหนึ่งชุดซึ่งก็คือ Smart counter ที่ สามารถใช้งานได้กับอุตสหกรรมค้าปลีกสมัยใหม่และธุรกิจอื่นๆ นอกจากนี้ COT ยังมีแผนการแก้ปัญหาในระดับที่ง่ายสำหรับผู้ใช้งานที่มีฮาร์ดแวร์ของตัวเอง โดยจะผู้ใช้จะต้องติดตั้งชิปที่มีการเข้ารหัสของ COT เข้ากับฮาร์ดแวร์ ชิปนี้สามารถมองได้ว่าเป็น Cold Storage อย่างหนึ่งเพราะมันจัดเก็บ ID และ สาระสำคัญของข้อมูลทางกายภาพ นอกจากนี้ยังใช้เป็น Private Key เสมือนเป็นการเซ็นชื่อตอนทำ transaction ต่างๆ

Public Blockchain ของ COT

        Public Blockchain ของ COT ยังให้ความสำคัญในการทำงานร่วมกัน รวมถึงหลังจากที่นำข้อมูลฮาร์ดแวร์ Upload เข้าสู่โครงข่ายแล้ว อาจจำเป็นต้องทำการยื่นข้อมูล หรือยืนยันสถานะตัวตนด้วย และส่วนประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องของ COT ถ้าหากมีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจจำเป็นต้องทำงานข้ามโครงข่าย และการจัดการอื่นๆ นอกเหนือจากการปรับแต่ง และแก้ไขหน้าปฏิบัติงานอันซับซ้อนโดยผ่านโครงสร้าง Multi-chain แล้ว ยังจำเป็นต้องแก้ไขความขัดแย้งระหว่างการถ่ายโอนข้อมูลแบบความถี่สูง และ TPS ของ Public Blockchain ที่ต่ำกว่ามาตรฐานของอุปกรณ์ IoT หวังเหวิ่นคิดว่า ในหน้าการทำงานนี้ ผู้ใช้งานควรต้องมีประสบการณ์มาก่อน และเขาคิดว่า ไม่ใช่ข้อมูลทุกส่วนที่จำเป็นต้อง Upload เข้าสู่โครงข่าย หรือต้องผ่านกลไกการยืนยันความถูกต้องของธุรกรรม (Consensus mechanism) และก็ไม่ใช่ทุกๆข้อมูลที่จำเป็นจะต้องนำ Uploadเข้าสู่โครงข่ายแบบReal-time

        สำหรับข้อมูลบางอย่างเพียงแค่ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบเดิม เสริมด้วย AI และควบคู่ไปกับการ Hash ยืนยันตัวตนด้วย Trusted device เพียงเท่านี้ก็สามารถไว้วางใจได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่นการส่งผ่านข้อมูลโดยผ่านตำแหน่ง GPS + ตัวข้อมูล + การผูกสถานะตัวตนของบุคคล ข้อมูลชนิดนี้สามารถวินิจฉัยความจริงและความเท็จได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องผ่านกลไกการยืนยันความถูกต้องของธุรกรรม (Consensus mechanism) กรณีที่เป็นผู้ใช้งานภายในประเทศ แต่กลับเกิดการทำธุรกรรมขึ้นเมื่อขณะที่เจ้าตัวติดอยู่ในต่างประเทศแล้ว ก็สามารถยืนยันได้ว่าการทำธุรกรรมนี้มีความผิดปกติ

ข้อมูลบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องใช้ Blockchain

        สำหรับข้อมูลบางธุรกรรม ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องอับเดทบน blockchain ทุกครั้ง ยกตัวอย่างเช่นการใช้บัตรรถโดยสารสาธารณะ ทุกครั้งจะมีการบันทึกข้อมูลแต่ว่าข้อมูลเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องอับเดทบน blockchain โดยทันที แต่ทำแค่ครั้งเดียวต่อวันก็ได้  เพราะก่อนการ Synchronize ข้อมูลเข้าสู่โครงข่าย ข้อมูลการเชื่อมต่อสุดท้ายจะถูกเก็บเอาไว้ใน buffer pool โดยแผ่นชิปเข้ารหัสซึ่งสามารถรับรองข้อมูลใน buffer pool ว่าจะไม่ถูกบิดเบือนหรือดัดแปลงได้ ในส่วนของผู้ใช้งาน บัตรรถโดยสารสาธารณะ จะถูกตัดยอดทันทีเมื่อใช้งาน ส่วนการเติมเงินก็จะเข้าในตัวบัตรทันทีเช่นเดียวกัน แต่สำหรับฝ่ายบริการเบื้องหลัง ความเร็วของการผ่านกลไกการยืนยันความถูกต้องของธุรกรรม (Consensus mechanism) ในแต่ละวัน แค่หนึ่งครั้งต่อวันก็เพียงพอแล้ว หากเกิดกรณีการทำธุรกรรมมีปัญหาก็สามารถย้อนค่าคืนกลับได้

        หวังเหวิ่นกล่าว เพราะการทำธุรกรรมในความเป็นจริงแล้ว นอกจากจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างสิ่งของกับสิ่งของแล้ว มันอาจจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างสิ่งของกับคน หรือระหว่างคนกับคนด้วย

        ดังนั้น ในเดือนมิถุนายน COT และ Ontology จะเริ่มต้นการร่วมวิจัยและพัฒนาด้าน IoT โดยที่จะมุ่งโฟกัสไปที่การพัฒนา main publicchain และการร่วมมือกันของข้อมูลระหว่าง chains ของทั้งสองโปรเจค (IoT จาก CoT และคนจาก Ont)

        หน้าที่รับผิดชอบหลักของ COTคือการให้คำแนะนำทางเทคนิคและ Solution ในด้าน IoT แก่ลูกค้า ส่วน Ontology จะสร้าง Platform รหัสบุคคลดิจิตอล บน IoT protocol

ปัจจุบันทีมของ COT มี14 คน นำทีมโดย

Wang Wen – CEO เคยเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีของบริษัท ZTE โทรคมนาคมมาก่อน เป็นผู้บริหารงานในด้าน IoTและระบบอัจฉริยะแบบอัตโนมัติมาอย่างต่อเนื่อง เคยเข้าร่วมเครือข่ายออนไลน์ IoTของประเทศจีน และโครงการระบบเครือข่ายอัจฉริยะอื่นๆมาแล้ว  

 

Jing Yiou – Co-founder ผู้ซึ่งรับผิดชอบระบบยืนยันตัวตน (Identification) จบปริญญาเอกด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Institute of Semiconductors, Chinese Academy of Sciences เคยออกแบบพัฒนาบัตรคมนาคมแห่งซ่างไห่, ชิปตั๋วเข้าประตูงานระดับโลก,เข้าร่วมการออกแบบเครื่องอุปกรณ์ยืนยันบัตรประจำตัวประชาชนยุคสอง มีประสบการณ์ทางด้านคลื่นความถี่ระบบการยืนยันตัวตน (Identification) อย่างล้นเหลือ

 

ที่มา : https://www.odaily.com/p/5132600.html

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.