เหรียญประเภท Infrastructure คืออะไร? ทำไมถึงอยู่รอดในตลาดแบบนี้ได้?
เหรียญประเภท Infrastructure คือ ผู้ให้บริการ blockchain service ที่ให้ผู้ที่ต้องการสร้าง หรือรัน dApps บนระบบของมันอย่างตัวที่รู้จักกันดี เช่น Ethereum ซึ่งตัว Ethereum นี้เองก็ยังมีข้อจำกัดหลายๆอย่าง เช่น เมื่อเกิด transaction มากๆในขณะนั้น ก็อาจจะทำให้ระบบล่ม หรือล่าช้าได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงมี ICO ประเภท blockchain service หรือ infrastructure เกิดขึ้นมา และผู้เล่นที่เข้ามาใหม่นี้แน่นอนว่าพยายามจะพัฒนาให้มีศักยภาพเหนือกว่า Ethereum เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้นักลงทุนคาดหวังว่าจะเป็น Ethereum ตัวต่อไป ความคาดหวังนี้แหละที่ทำให้เป็นกระแส และเป็นที่โฟกัสของนักลงทุนนั่นเอง วันนี้แอดจะมารีวิวโปรเจค Seele ผู้ที่เรียกตัวเองว่าเป็น Blockchain 4.0 และเป็นเหรียญที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้จากการทำการตลาดแจกถึง 5,000,000 SEELE เพราะฉะนั้นนอกจากตัว concept ของตัวเหรียญเอง marketing เองก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เอาละมาพูดถึงตัวโปรเจคกันบ้างดีกว่า
อธิบายภาพรวมของตัวโปรเจคก่อน…….
Seele ผู้เรียกตัวเองว่าเป็น Blockchain 4.0 เทคโนโลยีของโปรเจคนี้มีพื้นฐานอยู่บน neural consensus protocol ซึ่งเป็นอัลกอริทึมีความสามารถในการปรับขนาด และมีประสิทธิภาพในการเพิ่มความเร็วที่จำเป็นเมื่อจำนวนโหนดเพิ่มมากขึ่น
เป้าหมายของ Seele คือการสร้างยุคใหม่ของ Value Internet Connection protocol ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของเครือข่าย blockchain ได้ดีกว่าโปรโตคอลแบบเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ Seele คือ super-distributed cloud computer ที่สามารถรองรับทรานเซคชั่นได้เป็นล้านๆต่อวินาที(millions of transactions per second) รวมทั้งมีความสามารถในการจัดเก็บทรานเซคชั่นที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้อีกด้วย
Team & Idea
ชื่อ บริษัท หมายถึง “จิตวิญญาณ” ในภาษาเยอรมัน คำนี้ไม่ได้หมายถึงจิตวิญญานของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงแกนหลักของความคิดหรือการกระทำของบุคคล ความหมายคือการเปลี่ยนแปลงที่สมบูรณ์ และจะนำไปสู่ยุค Quick Value Internet Connection (QVIC).
โครงการนี้เป็นความร่วมมือกันของ UCL CBT (University Collect London Centre of Blockchain Technology) และนอกจากนั้นยังมีนักวิจัย, นักวิทยาศาสตร์, วิศวกรจากสหรัฐฯ และเอเชียร่วมด้วย ทีมงานประกอบด้วยคนจากทั้งอังกฤษและจีน สมาชิกหลายคนของทีมเคยทำงานที่ Microsoft มาก่อน
Seele มีเทคโนโลยีที่เป็น Highlight อะไรบ้าง….
- Heterogeneous Forest Network
- Neural Consensus Algorithm
- On-chain and off-chain sharing
- Value internet
มาลงในรายละเอียดกันต่อว่าแต่ละตัวเป็นอย่างไร
เครือข่าย Blockchain แบบดังเดิมอย่าง Bitcoin และ Ethereum เป็นโครงสร้างแบบ single-chain ซึ่งหมายความว่าทุกทรานเซคชั่นที่เกิดขึ้นจะเกิดภายใน 1 chain เท่านั้น ซึ่งในยุคเริ่มแรกมันก็สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานได้อย่างครบถ้วน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อต้องเจอความต้องการเปลี่ยนแปลงไป เช่น
- คอขวดในประสิทธิภาพการส่งผ่านทรานเซคชั่น ตัว Bitcoin มีความสามารถในการส่งทรานเซคชั่นแค่ 7 ธุรกรรมต่อวินาที แอพพลิเคชั่นต้องรอหลาย block(ประมาณ 6) และ Ethereum ใช้เวลา 10-20 วินาทีในการสร้างบล็อคใหม่ ข้อจำกัดเหล่านี้เองที่เริ่มจะเป็นขอขวดที่ทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่อการเติบโตของการนำเทคโนโลยี blockchain มาใช้ได้
- การที่ทำงานอยู่แค่บน chain เดียวเนี้ยมันทำให้ธุรกรรมในเครือข่ายแทรกแซงกันและกัน เช่น เกมที่รันอยู่บนเครือข่าย Ethereum อาจจะไปกระทบ หรือส่งผลต่อการทำธุรกรรมของธุรกิจอื่นๆบน Ethereum ด้วยก็ได้
- โครงสร้างเครือข่ายแบบปิด(Closed-network structure) ถ้าไม่เกิดรูปแบบ cross-chain ขึ้นจะทำให้ไม่สามารถโต้ตอบกันระหว่างแพลตฟอร์มได้
เทคโนโลยีที่จะมาแก้ปัญหาเหล่านี้คือเทคโนโลยี multiple blockchain structure แต่นี้ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาเท่านั้น เพราะอย่างไรก็ตามรูปแบบ multiple parallel chains ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีความต้องการหลากหลาก นอกจากนี้ในเรื่องของการแชร์กำลังการประมวลผล และข้อมูลกับหลายๆกลุ่มยังเป็นสิ่งที่ท้าทาย และยังไม่ถูกแก้ปัญหา เพราะ side chain ใดๆก็ตามยังต้องอิงกับ main chain อยู่ดี และการที่มันอิงกับ main chain นี้เองที่ทำให้เมื่อเกิดปัญหา bottleneck หรือเกิดทรานเซคชั่นแอดอัดมากๆ ก็ทำให้ระบบมีปัญหาได้
ซึ่งสิ่งที่จะมาแก้ปัญหานี้คือเทคโนโลยีที่เรียกว่า Heterogenous Forest Network (HFN) ใน HFN นั้นในแต่ละ chain จะให้บริการในจำนวนที่น้อยมาก เพื่อให้แต่ละบริการสามารถทำงานในเครือข่ายที่แยกกันได้ สิ่งนี้จะนำไปสู่การให้โลกจริงคู่ขนานไปกับโลกดิจิตอล ในขณะที่สามารถมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย และประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม และนอกจากนี้มันยังมีคุณสมบัติ cross-chain access ที่อนุญาติให้ส่งผ่านทรานเซคชั่นระหว่าง chain กันได้
มาดูกันต่อว่า Solution เพิ่มเติมที่ Seele จะแก้ไขปัญหา scalability ของ blockchain มีอะไรบ้าง
- A neural consensus algorithm หนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของ consensus algorithm คือ linear scalability กล่าวคือความสามารถจะเพิ่มขึ้นในรูปแบบเชิงเส้น(linear) ตามขนาดของโหนด ขนาดของโหนดที่ใหญ่ขึ้นจะทำให้เกิดการรวมกันได้เร้วขึ้น และมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เช่น ในสภาพแวดล้อมเครือข่ายโหนดจำนวน 100K เมื่อ TPS สูงถึง 100k จะทำให้การยืนยันทรานเซคชั่นที่ล่าช้าลดลงไปหลายวินาที
- Value Transport Protocol (VTP) and Value HTTP สิ่งนี้จะอนุญาติให้มีการตั้งชื่อ การตรวบสอบ และการระบุที่อยู่ของ Value Internet assets และ entities สิ่งเหล่านี้จะรวมกับทรัพยากรทางอินเตอร์เนตเพื่อสร้างโปรโตคอลพื้นฐาน(underlying protocols) และ การบริการโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure services) สำหรับ ecosystem ของ blockchain
- Proposed TCP/UDP-based low latency Quick Value Internet Connection (QVIC) protocol โปรโตคอลนี้สามารถตอบสนองความต้องการของเครือข่าย blockchain ได้ดีกว่าโปรโตคอล TCP และ UDP แบบเดิมเนื่องจากสามารถรองรับการเชื่อมต่อได้มากขึ้น ในขณะที่สามารถรักษาความปลอดภัย และลดความล่าช้าได้ดีขึ้น นอกจากนี้ประสิทธิภาพในการส่งผ่านได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยเกืิอบจะใกล้เคียงกับ 1 Order of magnitude แสดงให้เห็นว่ามันถูกพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน
The Seele Tokens
ตัวเหรียญจะมีหน้าที่ 2 อย่างคือ เพื่อให้รางวัลแก่โหนด หรือใช้เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม โดยแผนปัจจุบันคือการที่ให้สิทธิมากขึ้นแก่ผู้ถือเหรียญ และเหล่านักขุด จะทำการโดยให้เหรียญแก่ผู้ใช้เพื่อพัฒนาความเร็วของเครือข่าย และการเชื่อมต่อ
Roadmap
The Seele Platform
เป้าหมายของ Seele คือการสร้างแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพ และโครงสร้างพื้นฐานความเร็วสูง สำหรับการไหลเวียนของสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง, การวางตำแหน่ง การตรวจสอบ และการโอนเงินถึงกันได้ทั่วโลก ซึ่งมันถูกสร้างอยู่บน open-source platfrom
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ Seele ได้พัฒนาอัลกอริทึ่มที่ชื่อว่า a neural consensus ขึ้นมาเพื่อพัฒนา fault tolerance จาก 33% เป็น 40% โดยไม่ทำให้ประสิทธิภาพตกลงไปจากเดิม
ยังมีคุณลักษณะเพิ่มเติมอีกหลายอย่าง ที่ทำให้ Seele เรียกตัวเองว่าเป็น Blockchain 4.0
- มีพื้นฐานของ Blockchain 3.0 : ไม่ว่าจะเป็น Faster consensus และ transaction confirmation, high concurrency, cross-chain และกลไกการกำกับดูแลที่ดี
- Value Internet, heterogeneous forest network (HFN) และ neural consensus algorithm : ซึ่งฟังก์ชั่นเหล่านี้จะทำให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น ตามจำนวนการมีส่วนร่วม
- innovation governance mechanism : เป็นกลไกการกำกับดูแลนวัตกรรมที่คำนึงถึง ประสิทธิภาพ และความเป็นธรรม, การอยู่ร่วมกันของ consensus algorithm แบบต่างๆ, ระบบโทเค็นรูปแบบต่างๆ และ กลไกของ rate decentralized exchange
- Ecosystem of technologies : มีระบบนิเวศของเทคโนโลยีที่ส่งเสริมให้เกิดความไว้วางใจ(trust) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลมากขึ้น(information exchange) รวมทั้งความร่วมมือทางธุรกิจที่ดีขึ้น ซึ่งนำไปสู่เป้าหมายในการสร้างสังคมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มา: https://www.chainbits.com/reviews/seele-review/
Website : https://seele.pro/
Bitcointalk : https://bitcointalk.org/index.php?topic=2820292.new#new
Telegram : https://t.me/seeletech
Twitter : https://twitter.com/SeeleTech
Github : https://github.com/seeleteam
Whitepaper : https://s3.ap-northeast-2.amazonaws.com/wp.s3.seele.pro/Seele_tech_whitepaper_EN_v1.8.pdf
[…] สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า Seele คืออะไร สามารถอ่านได้จากที่นี่เลยครับ Seele Blockchain 4.0 […]