[รีวิว] Quarkchain ม้ามืดแห่งวงการแพลตฟอร์ม หรือนี่จะเป็นอีกหนึ่ง Ethereum killer?

3
4437

เพียงแค่ในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เราต้องยอมรับว่ามี ICO ที่อ้างว่าสามารถแก้ปัญหา scaling ที่ Ethereum มี ออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น Wanchain, Zilliqa, Selee, Credits, Yggdrash และอีกนับไม่ถ้วน

แต่จริงๆแล้ว ทำไมถึงยังไม่มีตัวไหนสามารถทดแทน Ethereum จริงๆได้เลย?

องค์ประกอบหลักๆของ Blockchain หรือ Alternative chain จะประกอบไปด้วย 3 อย่างคือ
Decentralization, Scalability, Security
DQmP6fYd8hrjhdq8ESuLp5iGjHQ1HAbdf5XoG1LmJ244ZJ1_1680x8400

ซึ่งตอนนี้ ยังไม่มี platform ใด รวมทั้ง Ethereum ที่สามารถแก้ปัญหาครบทั้ง 3 ข้อนี้ได้ หรือ balance มันได้ดีพอโดยที่ยังคงความเป็น public chain ที่คนเชื่อถือ เร็ว และ ปลอดภัย ตามที่ Vitalik กล่าวไว้ว่า

“ระบบของ Blockhain สามารถมีได้อย่างมากที่สุดเพียง 2/3 อย่างจาก Decentralization, Scalability และ Security”

Quarkchain เป็น Platform อีกตัวหนึ่ง ที่เข้ามาบอกว่าแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ ทาง Bitcoin addict เลยหยิบมาทำการ review ภาพโดยรวมของ project นี้กัน

Quarkchain Blockchain platform ที่เข้ามาแก้ปัญหาเรื่อง scaling โดยวิธีที่เรียกว่า Sharding

Sharding คืออะไร ?

ต้องเกริ่นก่อนว่า จริงๆแล้ว Scaling solution ที่ Blockchain หยิบมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความเร็วนั้น ส่วนมากไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการหยิบเอาวิธีการ Scaling ของ Database ที่คนคิดกันมาหลาย 10 ปีแล้ว มาปรับใช้

มองโดยกว้างๆ Scaling solution ของ Database มีหลักๆ 2 แบบคือ

Horizontal Scaling และ Vertical Scaling

image1.jpg

อธิบายด้วยภาษาง่ายๆคือ สมมุติว่าเรามี ชั้นหนังสือ อยู่ 1 ตู้ ด้วยความที่เราเป็นคนรักหนังสือมากๆ มีงานหนังสือกี่รอบ ก็ไปมันทุกรอบ ซื้อกลับมาทุกรอบ จนทำให้ ชั้นหนังสือ ที่เรามีอยู่นั้นเต็ม ทำยังไงดีหละ ?

Vertical Scaling คือ การที่เรา ขยายชั้นหนังสือ ให้ใหญ่ขึ้น เพื่อเราสมารถใส่หนังสือได้เพิ่มขึ้น
Horizontal Scaling คือ การที่เรา ซื้อชั้นหนังสือเพิ่ม มาเพื่อเก็บหนังสือนั้นๆ

แล้วทำไมมันถึงเร็วขึ้นหละ ? ลองจินตนาการว่า เรามีหนังสือใหม่เล่มนึง เป็นภาค 2 ของหนังสือเรื่อง to the moon อยากจะเก็บใส่ตู้ แต่ต้องอยู่ต่อจาก to the moon ภาค 1 แทนที่เราต้องไปนั่งหาตู้ใหญ่ๆ เราก็หาตู้เล็กๆแทน ( โดยที่เรารู้อยู่แล้วว่าอยู่ตู้เล็กอันไหน )

Screen Shot 2018-04-19 at 4.27.25 PM

โดยปกติแล้ว Blockchain อย่าง Ethereum นั้นมีการทำงานหลักๆ 2 อย่างซึ่งรวมอยู่บน Chain เดียวกันคือส่วนของ

  1. Ledger ซึ่งมีหน้าที่ในการ เก็บข้อมูลของ Chain ทำ Transaction และ Record data
  2. Confirm transaction

Quarkchain แบ่งกันทำงานออกเป็น  2 อย่างหลักๆเช่นกัน แต่ไม่ได้อยู่บน Layer เดียวกัน คือ

  1. Elastic sharding blockchain layer (ledger) มีหน้าที่ในการทำ transaction
  2. Root Chain​ (confirmation) มีหน้าที่ในการ Confirm blocks ที่มาจาก Sharding layer

Screen Shot 2018-04-19 at 4.28.41 PM.png

ซึ่งตรงนี้นี่เองที่ทำให้ Quarkchain พูดได้ว่าสามารถทำ Platform ที่สามารถ process transaction ได้เร็วกว่าเจ้าอื่นๆ ( ใน whitepaper บอกไว้ว่า สามารถขยับขึ้นไปถึง 1,000,000 tps ) เพราะไม่ต้องคอขวดแค่ตรง การ confirm transaction บน root chain อย่าง Ethereum 

ใน Sharding layer นั้น สามารถมี shard หลายๆ shard ได้ โดยความเร็วในการ confirm นั้นก็เพิ่มขึ้นตาม shard ที่เพิ่มขึ้นได้ ถ้ามองตามทฤษฏีอย่างเดียวแล้ว เรียกได้ว่าสามารถ scale เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆอย่างไม่จำกัดเลยทีเดียว ( linearly increase based on n shard )

Screen Shot 2018-04-19 at 4.15.06 PM.png

[ Feature หลัก ]

เกริ่นกันมาขนาดนี้แล้ว จะไม่พูดถึง feature หลักของ Quarkchain ก็คงไม่ได้ ถ้าอิงตามที่ vitalik กล่าวไว้ว่า Blockchain infrastructure นั้น ไม่สามรถที่จะมีข้อจำกัดได้มากกว่า 2 อย่าง Quarkchain เองก็คงไม่เกิดขึ้น ( ตามทฤษฏี ) ซึ่ง feature หลักๆที่ quarkchain อ้างว่าสามารถ balance ระหว่าง Decentralization, Scalability และ Security ได้ก็คือ

1. Anti-Centralized Horizontal Scalability Expansion

Screen Shot 2018-04-20 at 1.20.03 AM.png

หรือ กระบวนการป้องกันความเป็น centralized สรุปได้ว่า Blockchain โดยทั่วไป เมื่อต้องการ validate transaction ทุกๆ node ต้องทำการ validate transaction นั้นๆ Quakchain ก็เหมือนกัน node ที่จะ validate transaction นั้นจะถูกเรียกว่า super-full node ซึ่งใน platform ที่มี throughput สูงๆนั้น node ต้องมี requirement ที่สูงมาก Quakchain แก้ไขปัญหานี้ด้วยการ ทำสิ่งที่เรียกว่า Clustering ซึ่งทำการรวม node หลายๆ node เข้าด้วยกันเป็นกลุ่ม แล้วแบ่งภาระการ validate transaction ในกลุ่มนั้นๆด้วยกันเอง การทำแบบนี้จะลดความ centralize ของตัว chain ลงได้ เพราะเราไม่จำเป็นต้องมี node ที่ requirement สูงๆ ราคาแพงๆ เป็น validator เท่านั้น แปลง่ายๆว่า ใครจะเป็น node ก็ได้ ทำให้มีคนจำนวนมากขึ้นมายอมเป็น node แล้วลดความ centralize ลง

ทั้งนี้การทำเป็น clustering ยังช่วยในการป้องกันการ ตายของ node ตัวใดตัวหนึ่งใน cluster โดย node ที่เหลือจะเข้ามาทำหน้าที่แทนดังภาพ

Screen Shot 2018-04-20 at 3.50.03 PM.png

สรุปเป็นภาษามนุษย์ คือ เหมือนทำงานกลุ่ม โดยแทนคนแต่ละคนเป็น node และ super-full node คือกลุ่มเรานั่นเอง โดยมีงานกลุ่มที่ต้องช่วยกันทำให้เสร็จ ถึงมีบางคนไม่มาทำงาน ไม่สบาย คนอื่นก็สามารถลงไปทดแทนได้ แทนที่จะให้คนเก่งแค่บางคนในห้อง ทำงานนั้นๆ

2. Efficient and Secure Cross-Shard Transaction

Screen Shot 2018-04-20 at 1.20.11 AM.png

Quarkchain แบ่ง transaction ออกเป็น 2 แบบคือ

  1. in-shard transaction คือ shard ที่มี input address กับ output address เหมือนกัน
  2. cross-shard transaction คือ shard ที่มี input address กับ output address ต่างกัน

ซึ่ง cross-shard transaction ถือเป็น feature ที่น่าสนใจของ Quarkchain เพราะเป็น sharding solution ที่ platform ทั่วๆไปทำนั้นยังไม่ค่อยมีกัน ซึ่งช่วยในการทำ transaction ที่ไม่ได้อยู่บน shard ตัวเอง ทำให้ throughput ของ sharding layer เพิ่มขึ้นไปอีก เพราะ shards จะว่างงานน้อยลง

3. Simple Account Management

Screen Shot 2018-04-20 at 1.20.23 AM.png

โดนปกติแล้ว ในการทำ sharding นั้น แต่ละ shard user ต้องมี account แยกกันโดยสิ้นเชิง แต่ Quarkchain แก้ไขปัญหาตรงนี้โดยการสร้าง Smart Wallet Application ที่จะเป็นตัวจัดการ account ของ shard ต่างๆในที่เดียว

เหมือนเป็น Super key ที่เก็บ private keys ของทุกๆ shard เอาไว้ที่เดียว ช่วยให้การติดต่อกับ chain ง่ายขึ้นสำหรับ users

4. Cross Chain Transaction

ถ้า platform ไหนตอนนี้ทำ cross chain transaction ไม่ได้ จะถือว่าเสียเปรียบมากเลยทีเดียว เพราะในอนาคต platform จะเกิดขึ้นมากมาย การคุยกันระหว่าง platform จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

Quarkchain ก็สามารถ ทำ cross chain transaction ได้เช่นกัน โดยมีการทำงานคือ ต้องเปลี่ยน token ผ่าน adapter แล้วทำ transaction  แบบ cross-shard ( รายละเอียดยังมีไม่มาก )

[ Consensus และ token ]

Quarkchain เลือกใช้ POW ( Proof of work )โดย hash power จะถูกแบ่งให้กับ shards เท่าๆกัน

Token (QKC) มีหน้าที่เหมือน Ethereum คือการจ่ายค่า fee แก่ network

[ ทีมงาน ]

ดูตัว project กันไปพอสมควรแล้ว มาพูดถึงทีมงานหลักๆที่โดดเด่นของ Quarkchain กันบ้าง

Screen Shot 2018-04-19 at 11.29.33 PM.png

Qi Zhou CEO of QuarkChain 
– เคยทำงานที่ google
– PhD from Georgia Institute of Technology
– ประสบการณ์มากกว่า 15 ปีในวางการ Software

Yaodong Yang Research Scientist QuarkChain
– co-founder demo++
– PhD in Engineering from Virginia Tech.
– เป็นอาจารย์ของมหาลัย Xi’an Jiaotong University

Zhaoguang Wang Software Engineer
– เคยทำงานที่ facebook, google, Instagram
– Master in computer science from University of Michigan
– ประสบการณ์มากกว่า 6 ปีในวงการ large scale distributed systems

Anthurine Xiang Marketing and Community
– เคยทำงานที่ Wall street และ Silicon Valley

โดยรวมแล้วถือว่า ทีมค่อยข้างแข็งแกร่งเลยทีเดียว โดยมี linkedinให้ดูเกือบทุกคน ถือว่าเป็นข้อที่ต้อง check อย่างนึงในวงการ ICO ที่ไม่มีค่อยมีอะไรน่าเชื่อถือซักเท่าไหร่ แต่ทั้งนี้ linkedin ก็สามารถปลอมแปลงได้ ดังนั้นอย่าพึ่งเชื่อทุกอย่างที่เห็น

[ Advisor ]

ตอนนี้ advisor ยังไม่โดดเด่นเท่าไหร่ โดย ส่วนมากจะเป็น venture capital

Bill More CEO DSSD

Arun Phadke Professor Emeritus of Electrical Engineering at Virginia Tech

Mike Miller  Liquid2 Ventures, Founder and Chief Scientist at IBM Cloudant

Leo Wang  Head of PreAngel VC and prolific crypto investor

[ จุดเด่น ]

  • Quarkchain ตอนนี้มี testnet แล้ว โดยจะเปิด public ให้ทดลองเล่นกันในเดือน พฤษภาคม โดย testnet จะมีความเร็วราวๆ 2000 tps ใน iteration แรก และจะมีความเร็ว 10,000 tps ใน iteration ต่อไป ตรงนี้ถือเป็นความเร็วที่ เป็นไปได้ และไม่เว่อร์จนเกินไป สำหรับ จำนวน node ที่ยังน้อยอยู่ ต้องดูกันต่อไปว่าจะสามารถทำได้จริงๆ บน mainnet เท่าไหร่
    ความเร็วบน testnet นั้นยังไม่ถือว่าเป็นความเร็วที่สามารถนำมาวัดได้จริง เพราะ environment ของ testnet และ mainnet นั้นแตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้นความเร็วที่เราจะได้ใช้จริงๆนั้นคงต้องรอขึ้น mainnet เพื่อดูกันอีกที แต่ทั้งนี้ ส่วนมาก platform ico จะยังไม่มีอะไรให้ทดลอง อันนี้จึงถือว่าเป็นข้อดีข้อหนึ่ง
  • รองรับ EVM ซึ่งแปลว่าการย้ายมาจาก Ethereum นั้นจะเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว
  • profile ทีมงานถือว่าค่อนข้างดี
  • hardcap ถือว่ากำลังดี ไม่สูงจนเกินไป ซึ่งอยู่ที่ 20M USD

[ จุดด้อย ]

  • ยังไม่มี Partnership ใดๆ list บน website ตรงนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง
  • คู่แข่งค่อนข้างเยอะ ตัวอย่างเช่น Zilliqa ที่ idea ตัว project แทบจะเหมือนกันกับ Quarkchain และกำลังจะมี mainnet เร็วๆนี้แล้ว (Q2) ถือว่าเป็น second mover ดังนั้นอาจล้าหลังกว่าได้
  • Advisor ยังถือว่ายังไม่สามารถสร้าง hype ในวงการได้

[ สรุป ]

ถือว่าเป็น platform ที่น่าจับตามองในตอนนี้ ที่มีทีมงานและความพร้อม ( test net ) ที่ดีพอสมควร โดยทาง technical แล้วมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถทำได้จริง ( อาจไม่ถึง 1,000,000 tps ) แต่โลกแห่งความเป็นจริงแล้ว ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้งาน tps ที่สูงขนาดนั้น

ความ hype ของตัวโปรเจคถือว่าทำได้ดีในช่วงนี้ โดยมีแกนนำ ICODROP และ SUPPOMAN เป็นตัวชูโรง ทำให้ telegram มีคนเพิ่มเข้ามาเหยียบ 10,000 คนในไม่กี่วัน

ICO ทาง Quarkchain ได้บอกว่าจะมีขึ้นในช่วงเดือน พฤษภาคม โดยไม่ระบุวันที่ชัดเจน และยังไม่ประกาศ token metric ใดๆทาง public channel

ทาง bitcoin addict อาจมี deep analysis ด้าน code ของ Quarkchain ในเร็วๆนี้

Screen Shot 2018-04-20 at 1.19.38 AM.png

Project Name: QuarkChain
Token Symbol: QKC
White Paper: https://www.quarkchain.io/quark.pdf
Crowdsale Hard Cap: $20 million
Whitelist: TBA ( พฤษภาคม )
Website: https://quarkchain.io
Telegram: https://t.me/quarkchain

3 COMMENTS

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.