ในช่วงปี 2017 ได้เกิดบริษัทใหม่ๆ ที่เริ่มหันมาใช้ blockchain และทำการระดมทุนในรูปแบบ ICO(initial coin offering) และเนื่องจากการระดมทุนในรูปแบบนี้กระจายออกอย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเริ่มเข้ามาหามาตราการควบคุม กำกับดูและ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เหรียญที่ระดมทุนในรูปแบบ ICO จะเป็นรูปแบบสินทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตามเหรียญที่ถูกพัฒนาบน blockchain ไม่จำเป็นต้องถูกจัดว่าเป็นสินทรัพย์เสมอไป เช่น utility tokens.
แม้ว่าจะมีเหรียญมากกว่า 2 ประเภทก็ตาม เช่น equity, work, share-like and asset-baked เป็นต้น แต่สิ่งสำคัญคือต้องสามารถจำแนกได้ว่าเหรียญที่ระดมทุน ICO นั้น เป็นเหรียญ utility หรือ security เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจ และการเลือกลงทุน ico ได้ดีขึ้นโดยขออธิบายความแตกต่างของเหรียญทั้ง 2 ประเภทดังนี้
Securities Token
จากเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา ที่ SEC เริ่มจับตามอง ICO มากขึ้น และได้ประกาศว่า ICO อาจเป็นหลักทรัพย์ และอยู่ภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ของรัฐบาล โดยประธานของ SEC กล่าวว่า ถ้าเหรียญดิจิตอลเหล่านั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามการดำเนินงานของบริษัท มันจะถูกพิจารณาเป็นสินทรัพย์ “คุณสามารถเรียกมันว่าเหรียญได้ แต่ถ้าการใช้งานของมันเหมือนสินทรัพย์ มันก็คือสินทรัพย์” ประธาน SEC กล่าวเพิ่มเติม
“ ในมุมมองของผู้ซื้อการขายที่มีศัพยภาพ สำหรับเพิ่มมูลค่าของเหรียญ กับความสามารถในการปล่อยขายเหรียญใน secondary market หรือทางทำกำไรอื่นๆจากการขายเหรียญดิจิตอล สิ่งเหล่านี้คือกุญแจสำคัญของหลักทรัพย์ และการเสนอขายหลักทรัพย์”
ดังนั้นถ้าตามนิยามของเหรียญที่เป็นสินทรัพย์ security token จะถูกกำหนดได้จากการทดสอบ Howey Test โดยจากการทดสอบต้องมีเหรียญ security token ต้องมีคุณลักษณะดังนี้
- เสนอโอกาสในการทำเงิน (offer an opportunity to contribute money) มีส่วนร่วมในผลกำไรหรือการดำเนินงานของบริษัท(to share in the profits of an enterprise managed and partly owned by respondents)
- โครงการนี้มีส่วนร่วมในการลงทุนกับบริษัทแสวงหาผลกำไรที่มาจากความพยายามของบุคคลที่สามหรือไม่(does the scheme involve an investment of money in a common enterprise with profits to come solely from the efforts of others)
จะเห็นได้ชัดว่าโทเค็นส่วนใหญ่ที่ได้มาจาก ICO อยู่ในหมวดหมู่ security token จึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
Utility Tokens
ในอีกด้านหนึ่ง มี token อีกรูปแบบหนึ่งที่รองรับ และให้บริการได้ในหลายๆกรณีคือ utility token ในขณะที่ security token จะทำให้บริษัทถูกเพ่งเล็งจากหน่วยงานที่กำกับดูแลสินทรัพย์มากกว่า โดย utility token สามารถนิยามได้ว่าเป็น การเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทในอนาคต โดยคุณลักษณะของ utility token ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อสำหรับการลงทุน ถ้ามีการจัดการโครงสร้างอย่างชัดเจน และถูกต้อง เหรียญประเภท utility tokens จะหลุดจากการควบคุมของกฎหมายว่าด้วยเรื่องหลักทรัพย์
ในปัจจุบันมี utility tokens ที่ประสบความสำเร็จมากๆมาแล้ว เช่น utility token ของ Civic ที่สามารถใช้ token ในการเข้าถึงบริการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบตัวตนแบบ decentralized โดยที่ tokens เหล่านี้แสดงถึงบัญชีการใช้งานบนเครือข่าย ยิ่งเครือข่ายใหญ่ขึ้นก็เกิดการใช้งานมากขึ้น และในเมิ่อ tokens มีจำนวนจำกัด แต่ในขณะที่เครือข่ายเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เหตุนี้เองที่ส่งผลให้ความต้องการใช้งานของ tokens เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แต่อย่างไรก็ตามจากสถิติปีที่แล้วพบว่าจาก 226 ICOs มีเพียง 20 ที่ utility tokens ถูกใช้อยู่บน networks
นาย Shawn Wilkinson ผู้ก่อตั้งเหรียญ Storj ที่เป็น utility token ประเภทหนึ่ง เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการใช้บริการพื้นที่บน network ของพวกเขาได้ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า
“ ในหลายๆบริษัท การนำ tokens ไปใช้จริงเหมือนจะเป็นสิ่งที่โฟกัสหลังๆ แต่สำหรับ utility tokens การให้เกิดการนำไปใช้จริงในชุมชนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ประกอบกับจำนวน token ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จำนวนบริษัทใหม่ๆที่ออก tokens ทุกวัน เริ่มจะทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ และเมื่อตลาดซบเซา token ที่ไม่เกิดการใช้งานจริง จะไม่มีมูลค่าใดๆเลย”
Utility tokens เป็น tokens ที่แตกต่างจาก tokens ICO ตามปกติที่มีให้ใช้งานมากมาย แต่อย่างไรก็ตามยังไม่เหมาะสำหรับทุกบริษัท
เลือกเหรียญประเภท Utility ก่อน security
เหตุผลที่เราควรเลือก utility token มากกว่า เพราะว่าสามารถหลีกเลี่ยงการควบคุมจากกฎหมายการควบคุมหลักทรัพย์ได้ดีกว่าอย่างแน่นอน มีประเภทของ utility token มากมาย แต่ละชนิดก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าบริษัทไม่สามารถหารูปแบบ utility ตามหมวดหมู่ด้านล่าง มีแนวโน้มว่าพวกเขากำลังสร้าง securities token อย่างไรก็ตามอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสร้าง native token ใหม่ขึ้นมาที่นำไปสู่การโดนควบคุมทางกฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้น จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการแบ่ง token ออกเป็น fungible หรือ non-fungible
Utility fungible and non-fungible tokens
Utility fungible เหรียญประเภทนี้เป็นประเภทที่สามารถแลกเปลี่ยนกับอีกเหรียญหนึ่งได้ โดยคำว่า fungible มีความหมายว่า สินทรัพย์ หรือสินค้า หรือ เหรียญใดๆ สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ เมื่อมีมูลค่าเท่ากัน(เช่น ไม่ว่าจะแบ่ง ETH เป็นหน่วยย่อยกี่หน่วย 0.1, 0.2 ,1 ก็สามารถนำไปแลกกับเหรียญอื่นๆได้) โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างสองสิ่งที่แลกเปลี่ยนกัน เช่น ทองนับเป็น fungible asset เนื่องจากไม่ว่ามันจะอยู่ในลักษณะ ทองแท่ง เหรียญ หรือในรูปของผง มันก็ยังมีมูลค่าในตัวของมัน
ดังนั้นในลักษณะของ utility token ที่สามารถแลกเปลี่ยนกับเหรียญอื่นได้ เราสามารถแบ่งประเภทเพิ่มเติมได้อีก เช่น ระบบ incentive token เป็นระบบที่ทำให้ผู้คนที่อยู่ในเครือข่าย ดำเนินงานตามที่ต้องการ ซึ่งบริษัทที่บริหารโดยระบบนี้ไม่ต้องการ native app และสามารถปฏิบัติการบน host ของเหรียญอื่นๆได้
เช่นเดียวกัน สำหรับ utility token ที่จะยกตัวอย่างอีกแบบนึงก็คือรูปแบบ voter token ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นมา โดยไม่จำเป็นต้องมี tokens ประเภทหลักทรัพย์ดั้งเดิม ซึ่ง voter token นี้สามารถให้ผู้ใช้ที่อยู่ในเครือข่ายลงคะแนนได้ และยังมี utility fungible tokens แบบอื่นๆอีก เช่น membership tokens ซึ่งตัวเหรียญใช้สำหรับการเข้าใช้งาน platform และ service
ในอีกด้านหนึ่งสินทรัพย์ประเภท non-fungible เช่น ที่ดิน หรือ Blockchain space cryptokitties โดยตัว utility Non-Fungible tokens ใช้เพื่อระบุความเป็นเจ้าของเหรียญ หรือสินทรัพย์ดิจิตอล
อย่างไรก็ตามมี ICO จำนวนมากที่มีลักษณะการใช้งาน token เป้นแบบ utility ตามคุณลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น แต่บริษัทเหล่านั้นกับนิยามเหรียญตัวเองว่าเป็นแบบ security token ซึ่งสร้างความยุ่งยากเรื่องการโดนควบคุมจากกฎหมาย
Beyond the definition
ทั้งนิยามของ security token และ utility token หรือเหรียญประเภทอื่นๆ ยังค่อนข้างเป็นนิยามเดินจากยุค Pre-Blockchain
Dejun Qian ผู้ก่อตั้ง Fusion และ QTUM กล่าวว่าเรื่องของเหรียญยังคงเป็นสิ่งที่ใหม่ และเป็นไอเดียเฉพาะของแต่ละบุคคล ซึ่งพวกเขาควรจะเป็นคนนิยามมันเองมากกว่า
“ เหตุผลที่ผู้คนพยายามนิยามว่าเหรียญนี้เป็นประเภท utility หรือ security เนื่องจากเพราะมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องว่าจะกระทบ token ที่ถืออยู่หรือไม่ เมื่อผู้คนบอกว่ามันเป็นประเภท utility หมายความว่า token นั้นได้ออกแบบมา และถูกฝังไว้ในโครงสร้างพื้นฐานของ blockchain โดยปกติมันจะทำหน้าที่เป็นส่วนสำคัญของ Blockchain และมันยังสามารถสร้างสรรค์ได้อีกมาก และยังสามารถทำให้เกิดโอกาสที่แตกต่างกันสำหรับ Blockchain”
แต่อย่างไรก็ตามในความเห้นของ Qian เราควรอยู่เหนือความคิดที่ว่ามันเป็นเหรียญประเภทอะไร security หรือ uitility “ในอีกด้านหนึ่งแม้ว่าจะมีเหรียญประเภท security และเราถูกควบคุมโดยกฎหมาย ทำให้เราต้องปฎิบัติตามการควบคุมนั้นๆ นี้จึงเป้นสิ่งที่ทำให้ผู้คนคิดไปในทางเดียวกัน แต่ผมว่าเราควรจะพยายามคิดในด้าน utility ของเหรียญนั้นมากกว่า หรือไม่ต้องพยายามแบ่งแยกว่ามันคือเหรียญอะไร เนื่องจากในมุมมองของผม ไม่ว่าเหรียญจะเป็นประเภทอะไร มันถือเป็นสิ่งใหม่มากๆ และเราไม่ควรเอาสิ่งใหม่ๆนั้นมาตีกรอบว่าควรจะจำกัดมันอย่างไร”
สรุป
- นิยามหรือการกำหนดว่าเหรียญไหนเป็น security หรือ utility ไม่ได้แน่ชัดมากนัก SEC ของอเมริกาใช้ Howey Test ในการกำหนดว่าเหรียญไหนเป็นประเภทอะไร โดยแต่ละประเทศการกำหนดเหรียญนั้นแตกต่างกันไปโดยอาจจะอิงจากการกำหนดของ Howey Test หรือไม่ก็ได้ จากแหล่งข่าวนี้ http://www.thansettakij.com/content/254874
ก.ล.ต ของไทยจะจำแนกเหรียญเป็นสามประเภทคือ
- Utility token
- Securities token
- Equity token
โดยทาง ก.ล.ต. จะกำกับดูแลเหรียญประเภท Security และ Equity
- การเลือกลงทุนเหรียญใดเหรียญหนึ่ง ไม่ควรดูแค่ว่าเหรียญนั้นเป็น Utility หรือ Security ต้องดูปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่น partner, business model, roadmap, market capital, team
- ถ้าเราสามารถแยกได้ว่าเป็นเหรียญประเภทอะไรก็จะมีประโยชน์ทำให้เรารู้ว่ามีผลกระทบทางด้านกฎหมายมากน้อยแค่ไหน และเหรียญ utility ค่อนข้างมีแนวโน้มที่ดีกว่าเพราะโดนควบคุมจากกฎหมายน้อยกว่า และสามารถได้รับกำไรอย่างมากได้ถ้าเกิด demand กับเหรียญนั้นขึ้นมาก แต่อย่างไรก็ตามการเลือกซื้อเหรียญ utility ไม่ได้การันตีผลกำไรที่ได้รับเสมอไป ถ้าเหรียญนั้นไม่ได้มีการนำไปใช้งานจริง หรือ community ไม่ได้แข็งแกร่งก็ทำให้กลายเป็นเหรียญที่ไร้มูลค่าได้
ที่มา : https://cointelegraph.com/news/legitimising-the-ico-token-finding-utility-over-security