รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการเพิ่มขึ้น ของจำนวนบริษัทในประเทศไทยมากมาย ที่ช่วงนี้แข่งกันเปิดการระดมทุนเหรียญ ICO ก่อนที่จะมีกฎระเบียบเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ สิ่งนี้เองได้กระตุ้นให้หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศ รีบที่จะกำหนดกรอบการกำกับดูแลการขายเหรียญ ICO ก่อนที่จะมีข้อกฎหมายสำหรับ CryptoCurrency โดยเฉพาะ
ICO กำลังเติบโตในประเทศไทย
บริษัทในไทยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัทเอกชนในประเทศไทยกำลังรีบเปิดการระดมทุนเหรียญ ICO ก่อนที่จะมีการออกกฎระเบียบที่ชัดเจน สื่อชื่อดังในไทยอย่างไทยรัฐรายงานว่า “บริษัทที่เปิดขาย ICO ช่วงนี้ กลัวว่าหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศไทย จะออกกฎหมายที่ทำให้ขีดจำกัดของเม็ดเงินในการระดมทุนของบริษัท และนักลงทุนลดน้อยลง”
เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท เจเวนเจอร์ส ซึ่งเป็น บริษัทลูกของ บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น บริษัทที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้กลายเป็นบริษัทแรกที่เปิดขาย ICO โดยบริษัทได้ขายเหรียญจำนวน 100 ล้าน Token และได้รับเงินระดมทุนไปทั้งหมด 660 ล้านบาท (ประมาณ 21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ PPS ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของไทย มีแผนจะระดมทุนเหรียญผ่านทาง ICO ในชื่อเหรียญ Profincoin ประมาณ 500 ล้านบาท (ประมาณ 16 ล้านเหรียญสหรัฐ) และใช้เงินที่ได้รับมาจากการระดมทุนเพื่อขยายธุรกิจ factoring โดย PPS ระบุว่า บริษัทมีแผนที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนดไว้ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมนี้
ยังมีอีกบริษัท fintech startup อีกเจ้าหนึ่งที่ชื่อว่า Stockradars ได้ประกาศระดมทุนผ่าน ICO โดยจะสร้างแพลตฟอร์มการเทรดแบบ social trading ซึ่งจะเริ่มต้นขาย pre-sale จำนวน 120 ล้าน Token ก่อน ในวันที่ 22 มีนาคมนี้
กฎระเบียบ ICO ที่คาดว่าจะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า
หน่วยงานกำกับดูแลของไทยต่างกังวลว่า ICO กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลสำหรับการซื้อขาย CryptoCurrency ในประเทศไทย
นายศักรินทร์ ร่วมรังษี ผู้ช่วยเลขานุการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กล่าวว่า “คณะกรรมการของคณะกรรมาธิการ จะพิจารณากำหนดกรอบการกำกับดูแลกิจการ ICO ในวันที่ 8 มีนาคม” หน่วยงานกำกับดูแลจะหารือเกี่ยวกับข้อเสนอสำหรับข้อบังคับของ ICO แต่จะไม่กล่าวถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวกับ CryptoCurrency แต่อย่างใด
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาสำนักงานนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า “กฎระเบียบ know your customer (KYC) จะถูกใช้กับผู้ที่ครอบครอง Token เพื่อคุ้มครองนักลงทุน และผู้ออก Token จะต้องได้รับใบอนุญาตด้วย” เขากล่าวในสื่อของ Bangkok Post
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. เปิดเผยว่า “ในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ จะมีการกำหนดมาตรฐาน ในการเปิดเผยข้อมูลและรายงานการทำธุรกรรม โดยกรอบการกำกับดูแลนี้ จะคำนึงถึง ความปลอดภัยของระบบการทำธุรกรรม และการใช้เงินทุนที่ได้รับจาก ICO”
กฎระเบียบของ Crypto จากความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน
สำหรับกฎระเบียบด้าน CryptoCurrency นายพรชัยกล่าวว่า “ในส่วนของการซื้อขายสกุลเงินดิจิทอล จะต้องสอดคล้องกับ ข้อมูลการยืนยันตัวตน (KYC)”
นายรพี เสริมว่า “กรอบการทำงานสำหรับกฎระเบียบควบคุม CryptoCurrency จะมีขึ้นใน 3 สัปดาห์ถัดจากนี้เพื่อพิจารณาถึงกฎหมายในปัจจุบันว่า ครอบคลุมเพียงพอที่นำมาใช้กับ CryptoCurrency ปกติแล้วหรือไม่” โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมาจาก 4 หน่วยงานได้แก่ ผู้แทนจากธนาคารกลางของประเทศไทย , สำนักงาน ก.ล.ต. , กระทรวงการคลัง และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
นายศักรินทร์ กล่าวว่า :
“เนื่องจากว่า CryptoCurrency ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นหลักทรัพย์ ดังนั้นสิ่งนี้จะไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SEC แต่จะอยู่ภายใต้การดูแลจากความร่วมมือของคณะทำงานทั้ง 4 หน่วยงาน เพื่อกำหนดกรอบการกำกับดูแล”