นาย Bruce Fenton ผู้ซึ่งเป็น CEO ของ Chainstone Labs (บริษัทจัดการสินทรัพย์ดิจิตอล) และ Atlantic Financial(สถาบันทางการเงิน) และได้ทำงานเกี่ยวกับด้านการบริหารการจัดการการลงทุนมามากกว่า 25ปีอีกทั้งยังเป็นบอร์ดบริหารของ Bitcoin Foundation และ Medici Ventures และเป็นผู้จัดงาน Sataoshi Roundtable เขาได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับกลุ่มเกณฑ์การให้คะแนนสำหรับการวิเคราะห์เพื่อการลงทุนสำหรับ ICO และ cryptocurrency ดังนี้
ก่อนที่ Bitcoin จะเกิดขึ้นมา ผมเคยเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินมาหลายปี ทำให้ผมไม่ชอบที่จะเห็นผู้คนตัดสินใจอะไรโง่ๆในการลงทุนซึ่งจะทำให้พวกเค้าเสียเงินจำนวนมากไป
เห็นได้ชัดว่าสินทรัพย์ดิจิตอล(Coin,Token,ICO,etc) ที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นโอกาสอันดีและน่าตื่นเต้นแต่ว่าพวกเราควรที่จะกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นอย่างบ้าคลั่งของสินทรัพย์ดิจิตอลที่มีคุณภาพต่ำหรืออาจะเป็นการต้มตุ๋นหลอกลวง และเพื่อให้เห็นภาพความเลวร้ายได้ชัดยิ่งขึ้น สินทรัพย์ดิจตอลไม่มีแม้แต่กลุ่มเกณฑ์ในการประเมินศักยภาพ อย่างในบริษัทเอกชนทั่วไป เราสามารถเปรียเทียบรายได้,งบดุล หรือตัวเลขอื่นๆที่สามารถใช้ชี้วัดได้ว่าบริษัทนี้น่าที่จะลงทุนด้วยหรือไม่
ทำให้ในจุดนี้นักลงทุนต้องการกลุ่มเกณฑ์บางอย่างเพื่อมาใช้ประเมินข้อดี ข้อเสียของสินทรัพย์ดิจิตอลเพื่อที่จะช่วยให้นักลงทุนหาเพชรเม็ดงามท่ามกลางกองขยะมหาศาล นาย Bruce Fenton จึงได้จัดทำเครื่องมือเพื่อที่จะช่วยนักลงทุนในการวิเคราะห์ข้อดีของสินทรัพย์ดิจิตอลที่มีชื่อว่า “Spacesuit X”
Spacesuit X คืออะไร
Spacesuit X คือการให้คะแนนในช่วง0-100 ซึ่งมาจากการรวมคะแนนของ10หัวข้อที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถนำมาใช้พิจารณาสินทรัพย์ดิจิตอลได้ และในหัวข้อที่10 จะเป็นตัวแปร X ซึ่งเป็นตัวแปรที่นักลงทุนสามารถกำหนดเองได้ว่าจะเป็นการให้คะแนนในหัวข้ออะไรแบบไหน
โดยในแต่หัวข้อมีคะแนนเต็ม0-10 และคะแนน10คือคะแนนสูงที่สุด ตัวอย่าง นักลงทุนคิดว่า Bitcoin มีความปลอดภัยที่สูงมากเขาอาจะให้คะแนนที่9ในหัวข้อนี้
โดยทั้ง10หัวข้อจะนำคะแนนมารวมกันซึ่งจะได้เป็นคะแนนสุดท้ายที่อยู่ระหว่าง 0-100 (คะแนนยิ่งสูงก็แสดงว่าสินทรัพย์นี้ดี น่าลงทุน) แต่ทั้งนี้การให้น้ำหนักความสำคัญของแต่ละหัวข้ออยู่ที่นักลงทุนเอง บางท่านอาจจะรู้สึกว่า เฮ้ยเราอยากให้น้ำหนักด้านความปลอดภัยอยู่ที่ 20%ก็สามารถปรับได้(คำนวณแบบคิดเกรดเฉลี่ย)
อีกวิธีหนึ่งนักลงทุนก็สามารถใช้น้ำหนักคะแนนแบบเดิมแต่ว่ามีเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นมาเองอย่างเช่น มีคะแนนเต็ม10คะแนนด้านความปลอดภัย แต่กำหนดว่าเราจะไม่ลงทุนกับโปรเจคใดๆก็ตามที่มีคะแนนด้านความปลอดภัยต่ำกว่า7คะแนน และคะแนนรวมต้องไม่ต่ำกว่า 75 ก็สามารถทำได้ไม่กำหนดตายตัว
การให้คะแนนมีความยืดหยุ่นขึ้นกับนักลงทุนเองเพราะแต่ละท่านก็อาจจะมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันไปแต่ในหัวข้อทั้ง10หัวข้อนี้ก็เป็นหัวข้อหลักที่ใช้ในการประเมินและจะทำให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น มาถึงตรงนี้คิดว่าคนที่อ่านมาน่าจะเข้าในแนวคิดแล้วต่อไปก็จะเป็นการแนะนำหัวข้อทั้ง10หัวข้อครับ
1.ความปลอดภัย
ในหัวข้อนี้เป็นหัวใจสำคัญของ crypto และ blockchainก็ว่าได้ โดยปัจจัยที่ดีที่จะนำมาพิจารณาได้แก่ ใช้เทคโนโลยีblockhainเพื่อความปลอดภัย,มีsmart contract ที่ดี(ไม่มีช่องโหว่ อาจจะมีข่าวถูกแฮ็คก่อน ICO หรือหลัง ICO ต้องดูว่ากลุ่มผู้พัฒนาจะรับมือยังไง)
2.การมีส่วนร่วม
ต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ว่าคุณมีส่วนร่วมอย่างไรก็เหรียญนี้?(ผู้ถือเหรียญอาจจะมีสิทธิ์ในการโหวตหรือนำเสนอไอเดียให้กับทีมงาน) จะได้อะไรจากการถือครองเหรียญ?(เงินปันผล,ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียม,อื่นๆ) ระบบมีความโปร่งใสหรือไม่(อย่างเช่น ICO มีดีลลับกับนักลงทุนรายใหญ่ โดยอาจจะให้โบนัสสูงมากๆในปริมาณมาก อาจจะโดนเทเมื่อเหรียญเข้าตลาด) มีการปันผลเป็นตัวเหรียญแบบไหนอย่างไรเพราะการปันผลเป็นเหรียญจะทำให้ supply เพิ่มขึ้นและถ้าทางทีมไม่มีแผนสำหรับตรงนี้ก็อาจจะทำให้เหรียญราคาตกได้
3.กฎหมายและบัญชี
ทีมถือเหรียญอยู่เท่าไร มีบัญชีที่สามารถตรวจสอบได้หรือไม่(บางโปรเจคบอกว่าทีมจะมีเหรียญล็อคไว้2 ปีและถืออยู่40% แต่ไม่ได้ให้address มาตรวจสอบก็อาจจะโดนทีมนำเหรียญไปเทขายก็ได้ ตรงนี้ต้องระวังมากๆครับ) โปรเจคเป็น open sourceหรือไม่(เป็น open-source จะช่วยเพิ่มความไว้วางใจให้กับนักลงทุนและยังให้นักพัฒนาใน community สามารถมาช่วยให้คำแนะนำได้ด้วยครับ) และในบางโปรเจ็คอาจผิดกฎหมายในหลายๆประเทศหรือต้องใช้licenseก็ต้องดูในส่วนนี้ด้วยนะครับว่าทางทีมมีการรับมือกับกฎหมายยังไงบ้าง
4.การบริหารจัดการชุมชนและทีมงาน
ต้องดูทีมงานว่ามีความสามารถในโปรเจคที่ทำมั้ย อย่างจะมาทำblockchain แต่ไม่มีนักพัฒนาด้านblockchainซักคนก็ไม่ไหวนะครับ แล้วทางทีมมีแผนจะจัดการยังไงกับสมาชิกในทีมไม่ใช่ว่าระดมทุนไปแล้วก็ไม่ได้จ้างใครมาเพิ่มหรอกอยู่กันเท่าเดิมแล้วเมื่อไหร่โปรเจคมันจะเสร็จซักที
ส่วนชุมชนก็สำคัญมากๆอย่าง telegram,slack,discord มันสำคัญตรงที่ถ้าขนาดกลุ่มมีขนาดใหญ่ก็แสดงว่าโปรเจคนี้น่าสนใจเพราะมีคนสนใจมากและเราสามารถคอยดูได้ด้วยว่าทางทีมมีการตอบคำถามกับคนในชุมชนหรือไม่ ไม่ใช่ว่าระดมทุนเสร็จเงียบหายเป็นป่าช้าไปเลยแบบนี้ก็ไม่โอเคครับ
5.รายได้
โปรเจคที่เราดูเนี่ยจะอะไรคือรายได้ แล้วมันมาจากทางไหนเป็นอุตสาหกรรมอะไรมีมูลค่าการตลาดขนาดไหนมีโอกาสที่จะเติบโตได้มั้ยต้องดูด้วยว่าเหรียญเนี่ยเอาไปทำอะไรได้นอกจากการเกร็งกำไร แล้วที่สำคัญเลยเหรียญที่เราถือเนี่ยมีส่วนร่วมกับรายได้ของบริษัทหรือไม่
6.อุปสงค์และอุปทาน
เหรียญต้องมีจำนวนจำกัด แล้วเหรียญจะผลิตออกมาเท่าไร ใครเป็นคนคุมเหรียญส่วนมาก จุดแข็งของเหรียญรวมไปถึงมูลค่ารวมทั้งหมดของเหรียญรวมไปถึงสภาพคล่องด้วยครับ(ถ้าเหรียญสภาพคล่องต่ำ หรือไม่มีสถานที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนใหญ่ๆคอยซัพพอร์ตจะทำให้เจ้ามือปั่นราคาได้ง่ายมาก หรือเวลาเราอยากจะขายก็ไม่รู้จะขายยังไงเพราะ ช่องว่างระหว่างช่วงราคาค่อนข้างห่างเราก็จะขายยากอีกด้วย)
7.ความสามารถในการใช้งาน
เหรียญที่เราถือเอาไปใช้ทำอะไร(จ่ายเพื่อซื้อบริการ,เป็นค่าธรรมเนียม) ถ้าไม่แล้วเราได้อะไรจากการถือเหรียญ แล้วตัวโปรเจคมีapp ที่สามารถใช้งานได้แล้วหรือยัง(ถ้า ICO อย่างน้อยๆควรมี prototypeหรือโปรเจคที่ประสบความสำเร็จบ้างแล้วนะครับ) แล้วคำถามสำคัญเลยเหรียญนี้ทำไมคนถึงต้องการใช้ ทำไมมันต้องเป็นแบบกระจายข้อมูล(บางโปรเจคมันเป็นแบบรวมข้อมูลที่ศูนย์กลางก็ดีอยู่แล้ว แบบนี้ก็ไม่น่าลงทุนครับ)
8.คนหนุนหลังและพันธมิตร
ดูพวกที่ปรึกษาว่าเป็นใครอย่างถ้าที่ปรึกษาเป็นระดับใหญ่ๆใน exchange หรือบริษัทชั้นนำของโลกก็ได้เปรียบกว่าบริษัทที่ไม่มีนะครับ มีพันธมิตรที่ดีมั้ยมีทั้งทีเกี่ยวข้องกับตัวอุตสหากรรมนั้นๆและนอกอุตสหากรรมนั้นๆ รวมไปถึงดูคู่แข่งด้วยนะครับว่าโปรเจคที่เราคิดจะลงทุนเนี่ยมีความสามารถไปแข่งกับเค้าได้มั้ย
9.วิชาการ
ไปอ่านwhitepaperว่าโอเคหรือไม่ เข้าใจถึงโมเดลทางธุรกิจของเหรียญและเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้มีแผนในการดำเนินธุรกิจยังไง roadmap ช้าไปรึเปล่า และรวมถึงด้านการเขียนโค้ดถ้าเรามีความรู้และสามารถตรวจสอบได้ก็อาจจะไปดูได้ว่าโอเครหรือไม่ในโปรเจคที่เป็น open-source
10.ตัวแปร X
เป็นหัวข้อที่ให้ทางนักลงทุนคิดเพิ่มมาใส่เองเพื่อให้ตอบโจทย์กับการใช้งานครับเพราะบางอย่างผู้เขียนเกณฑ์นี้อาจจะพลาดไปก็ได้ อย่างเช่นด้าน marketing เหมือนว่าบริษัทมีการทำ marketing ได้ถูกที่ถูกเวลาหรือไม่ ไม่ใช่ว่า app ยังไม่เสร็จดีเลยไปโปรโมตซะแล้วก็เหมือนนำเงินที่ระดมทุนมาไปละลายเล่น หรือ เวลาลง ICO เนี่ยบางคนให้ความสำคัญกับระบบการขายเหรียญ อย่างเช่น whitelist หรือโบนัสของช่วง presale ก็นำมาเป็นหัวข้อตรงนี้ได้ครับ
หลังจากให้คะแนนทั้ง10หัวข้อแล้ว ก็นำคะแนนมารวมกันครับคุณก็จะได้คะแนนของโปรเจคนั้นๆก็สามารถช่วยทำให้เราเห็นภาพได้ง่ายขึ้นว่าโปรเจคนี้น่าจะไปดวงจันทร์หรือดิ่งลงเหวกันแน่
ทั้งนี้นาย Bruce fenton ก็บอกว่าไม่ได้จำเป็นว่าหัวข้อทั้งหมดต้องตรงตามนี้ อาจจะเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับสไตล์ของแต่ละคนบางคนอาจจะเห็นหัวข้อนี้ไม่สำคัญก็เอาออก แล้วนำหัวข้ออื่นที่ตัวเองคิดว่าสำคัญเข้ามาแทนก็ได้ครับ
จำไว้ว่า : ถ้าคุณกำลังอะไรบางอย่างที่กล้าหาญและมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการไปดวงจันทร์ก็อย่าลืมนำชุดอวกาศ(Spacesuit)ของคุณไปด้วยนะครับ
รูปภาพ : https://www.pexels.com/